บทสรุปการจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้า ระยะที่ 2 แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ขยายผลสู่การทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน และการทำธนาคารปูม้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดตรัง ระยะที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี
. ที่โรงแรมวัมนา พาร์ค อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ดร.วิกิจ ผินรับ อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง #หัวหน้าโครงการธนาคารปูม้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พื้นที่ตรัง กระบี่ จัดกิจกรรมการเสวนาและนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัด เรื่อง “#การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน”สรุปผลการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำธนาคารปูม้าระหว่างธนาคารปูม้าชุมชน ขยายผลสู่การทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน และการทำธนาคารปูม้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนในพื้นที่จังหวัดตรัง
โดยมี ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดี มทร.ศรีวิชัย ในนามเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยและตัวแทนคณะทำงานดำเนินการขยายผลธนาคารปูม้า (วช.) กล่าวต้อนรับ นายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ประมงจังหวัดตรัง ประธานในพิธีเปิดโครงการ และ ดร.วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการกล่าวรายงาน กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัย “การจัดการและส่งเสริมธนาคารปูม้าแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนในจังหวัดตรังและกระบี่” ที่ได้รับสนับสนุนทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นั้น เป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงาน มีการจัดนิทรรศการธนาคารปูม้า มีตัวแทนธนาคารปูม้า/ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า ตัวแทนภาครัฐ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มอบโล่เกียรติคุณ เกียรติบัตรให้แก่ธนาคารปูม้า/ศูนย์เรียนรู้ฯ ดีเด่น หน่วยงานหนุนเสริมดีเด่น ของพื้นที่จังหวัดตรัง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน เป็นกิจกรรมที่หนุนเสริมและช่วยขับเคลื่อนในการทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน และเป็นการกระตุ้นในการปลูกสร้างจิตสำนึกในการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้า
รองอธิการบดี ตัวแทนคณะทำงานดำเนินการขยายผลธนาคารปูม้า (วช.) กล่าวว่า ผลงานโครงการนี้เป็นผลงานที่มีความสำเร็จ มีประสิทธิผล ที่น่าชื่นชมต่อการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชน ผสานกับภาควิชาการ ได้อย่างดีเยี่ยม เกิดการขยายผลจากธนาคารปูม้า สู่การสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ เสริมรายได้จากสัมมนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นับเป็นการใช้ธนาคารปูม้าเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าและมูลค่าต่อเศรษฐกิจฐานรากที่เกิดประโยชน์ต่อห่วงโซ่คุณค่าของชุมชน
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง