สุรินทร์ สร้างเมล็ดพันธ์ต้นแบบรุ่น 10 น้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล”
วันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 10.30 น. นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ มอบหมายให้นางสาวศันสนีย์ ทาสม ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 10 ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ ตำบลหนองบัวบาน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ในโอกาสนี้ นายวสันต์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานฯ พัฒนาการอำเภอรัตนบุรี ร่วมให้การต้อนรับ
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการแผนงานซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขเยียวยาปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ภายใต้การดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
โดยจังหวัดสุรินทร์มีกลุ่มเป้าหมายการดำเนินการทั้งสิ้น 1,313 ราย แบ่งระดับพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้
1) พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล ขนาดพื้นที่ 15 ไร่ จำนวน 1 ราย
1) พื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน จำนวนทั้งสิ้น 1,312 ครัวเรือน โดยแบ่งขนาดพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 2 ขนาด ดังนี้
-ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 484 ราย
-ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 828 ราย
โดยโครงการฯได้ดำเนินการฝึกอบรมสร้างแกนนำขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล แล้ว จำนวน 9 รุ่น รวมผู้ผ่านการอบรมจำนวน 937 คน
ในการเปิดการอบรมรุ่นที่ 10 ครั้งนี้ นางสาวศันสนีย์ ทาสม ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานโคก หนอง นา โมเดล เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ผู้เข้าอบรมฯ ถือเป็นแกนนำสำคัญของหมู่บ้านที่จะสามารถขับเคลื่อนร่วมกับเเนวทางการพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ ที่มีเป้าหมายการพัฒนาคือ “เมืองเกษตรอินทรีย์ ศูนย์เศรษฐกิจชายแดน ท่องเที่ยววิถีชุมชน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ซึ่งจังหวัดฯ มีแผนดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “สุรินทร์รุ่งเรือง สู่เมืองเกษตรอินทรีย์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชอินทรีย์เเละเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ เพื่อสร้างทักษะอาชีพเเละรายได้ให้แก่เกษตรกร เเละเพื่อให้คนสุรินทร์มีสุขภาพที่ดี
ในการนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์สังคม ธนปัญโญ ที่ปรึกษาศูนย์ฯ เป็นผู้อธิบายและนำเยี่ยมชมการดำเนินงาน โคก หนอง นา ธนาคารน้ำ โมเดลแก่คณะที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ด้วย
ภาพ/ข่าว กง.ยุทธศาสตร์ฯ สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์