พช.เชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

พช.เชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอกัลยาณิวัฒนา

วันจันทร์ที่ 1​ มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น.

นายพีระศักดิ์​ ธีรบดี​ นายอำเภอกัลยาณิวัฒนา​ เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอกัลยาณิวัฒนา​ โดยมี​ นางเสาวภาคย์​ นิ่มนวล​ พัฒนาการอำเภอกัลยาณิวัฒนา​ เป็นผู้กล่าวรายงานฯ​ ในการนีั​ นายวิทยา​ ชุมภูคำ​ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน​ พระวีระยุทธ์​ อภิวีโร​ เจ้าอาวาสวัดป่าดงช้างแก้ว​ พระปลัดสุชาติ​ สุวัฑฒโก​ เจ้าอาวาสวัดห้วยบง​ หัวหน้าส่วนราชการ​ และทีมวิทยากรครูพาทำอำเภอแม่แจ่ม​​ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดฯ​ ณ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ​ ตำบลบ้านจันทร์​ อำเภอกัลยาณิวัฒนา​ จังหวัดเชียงใหม่​

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่​ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกัลยาณิวัฒนา​ ได้กำหนดดำเนินการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอกัลยาณิวัฒนา​ ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2564​ รวม​ 4​ คืน​ 5​ วัน​ ณ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ​ ตำบลบ้านจันทร์​ อำเภอกัลยาณิวัฒนา​ จังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มเป้าหมาย​เข้าร่วมโครงการฯ​ จำนวน​106 คน​ ประกอบด้วย​ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ​ (นพต.)​ จำนวน​ 10 คน​ ครัวเรือนต้นแบบ​ จำนวน 86 คน​ และนักเรียน​ จำนวน​ 10​ คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับตำบล และระดับครัวเรือน​ และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

สำหรับการฝึกอบรมฯได้กำหนดหลักสูตรเนื้อหาวิชา/ฝึกปฏิบัติฯ อาทิ (1) เรียนรู้ ตำราบนดิน:กิจกรรมเดินชมพื้นที่ (2) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง​”ทฤษฎีบันได​ 9​ ขั้น​ สู่ความพอเพียง​ (4) หลักกสิกรรมธรรมชาติ (5) ฝึกปฏิบัติ “ฐานเรียนรู้” อาทิ ฐานคนรักษ์ป่า ฐานคนรักษ์แม่ธรณี ฐานคนรักษ์น้ำ ฐานคนรักษ์สุขภาพ ฐานคนมีน้ำยา (6) ฝึกปฏิบัติ “จิตอาสาพัฒนา เอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่” (7) การออกแบบเชิงภูมิสังคม​ตามหลักพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ (8) ฝึกปฏิบัติการสร้างหุ่นจำลองการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (9) ฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตหาอยู่หากิน (10) การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชากลไก 357 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี) (11) จัดทำแผนปฏิบัติ “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ” เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎี การบริหารจัดการ และลงมือฝึกปฏิบัติ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นผู้นำพัฒนา (Change Leader) ที่อยู่ในชุมชน และนำการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน และนำไปสู่สิ่งที่ชุมชนต้องการ

/////////////
วิญญู บุญสุวรรณ ภาพ : ข่าว
ทีมกลุ่มงานสารสนเทศฯ สนง.พช.เชียงใหม่