แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ บรรลุเป้าหมาย ขับเคลื่อนการฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พพช.) ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 รุ่นที่ 4
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564
นายประชา เตรัตน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นประธานปิด การฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 4 และมอบเกียรติบัตรพร้อมกล่าวให้โอวาทเพื่อเป็นเกียรติและขวัญกำลังใจ แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ ในการนี้ นายบุญลือ ธรรมธรานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม เป็นผู้กล่าวรายงานฯ การดำเนินการกิจกรรมการฝึกอบรมโดยนางเสาวลักษณ์ ไชยเมือง รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอแม่แจ่ม และวิทยากรการฝึกอบรมฯ ครั้งนี้ โดยทีมวิทยากรครูพาทำแม่แจ่ม (วิทยากรที่อยู่ในท้องถิ่นที่ผ่านการฝึกอบรมฯ) ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลแม่นาจร หมู่ที่ 17 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
กิจกรรมการฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 4 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2564 มีกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนต้นแบบในพื้นที่ตำบลแม่นาจร และตำบลแม่ศึก เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 86 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับตำบล และระดับครัวเรือน และเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกร แรงงานและบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในช่วงวิกฤต การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) สำหรับการฝึกอบรมฯได้กำหนดหลักสูตรเนื้อหาวิชา/ฝึกปฏิบัติฯ อาทิ (1) เรียนรู้ ตำราบนดิน:กิจกรรมเดินชมพื้นที่ (2) เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ทฤษฎีบันได 9 ขั้น สู่ความพอเพียง (4) หลักกสิกรรมธรรมชาติ (5) ฝึกปฏิบัติ “ฐานเรียนรู้” อาทิ ฐานคนรักษ์ป่า ฐานคนรักษ์แม่ธรณี ฐานคนรักษ์น้ำ ฐานคนรักษ์แม่โพสพ ฐานคนเอาถ่าน ฐานคนรักษ์สุขภาพ ฐานคนมีน้ำยา (6) ฝึกปฏิบัติ “จิตอาสาพัฒนา เอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่” (7) การออกแบบเชิงภูมิสังคมตามหลักพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ (8) ฝึกปฏิบัติการสร้างหุ่นจำลองการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (9) ฝึกปฏิบัติการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตหาอยู่หากิน (10) การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชากลไก 3 5 7 (3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี) (8) จัดทำแผนปฏิบัติ “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ” (11) และอื่น ๆ เพื่อให้ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฯ มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎี การบริหารจัดการ และลงมือฝึกปฏิบัติ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้เบื้องต้น ในระยะเวลา 5 วัน 4 คืน
นายประชา เตรัตน์ กล่าวว่า ศาสตร์พระราชา องค์ความรู้ที่เป็นปัญญาของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จากกระบวนการทรงงานในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ก็คือ องค์ความรู้ที่ว่าด้วยเรื่อง“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่ครอบคลุมในทุกมิติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พระราชประสงค์ของพระองค์ คือ การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และด้านจิตใจของประชาชนคนไทยเป็นสำคัญ ให้เป็นชุมชนที่ อยู่เย็น เป็นสุข ในการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา คือการนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้กับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่และการออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยเพื่อการพึ่งพาตนเองได้ ที่เรียกว่า “โคก หนอง นา โมเดล” สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุข มีความมั่นคงในชีวิต มีความมั่นคงทางอาหาร ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในครั้งนี้ จึงมีความสำคัญในการนำองค์ความรู้ ศาสตร์พระราชา น้อมนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง และเป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ครอบครัว สู่เพื่อนบ้าน สู่ชุมชน สู่อำเภอแม่แจ่มต่อไป เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสามัคคีในชุมชนอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
โดยหลังจากนั้น นายประชา เตรัตน์ ได้ไปเยี่ยมชมการสร้างแท็งค์ยักษ์ เพื่อกักเก็บน้ำและกระจายน้ำ เพื่อการเกษตร และเป็นจุดต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่