“พช.แม่ฮ่องสอน ร่วมกับ ทีมวิทยากรศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ “นามูนมังตายาย” นำทีมโดยอาจารย์รักษ์เผ่า พลรัตน์ เปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กิจกรรมที่ ๑ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ มกราคม ณ เฟิร์นริมธารรีสอร์ท หมู่ที่ ๑๐ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา๐๙.๑๕น.
(double arrow left)นายปฐมพงษ์ จันทร์สว่าง พัฒนาการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานเปิดการฝึกอบรม โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล กิจกรรมที่ ๑ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ ๓ ณ เฟิร์นริมธารรีสอร์ท หมู่ที่ ๑๐ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมี นายเดือน เมืองมูล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล
(double arrow left)ในการฝึกอบรม รุ่นที่ ๓ ประกอบด้วย ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต และผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน ๙ คน อำเภอแม่สะเรียง จำนวน ๒ คน อำเภอแม่ลาน้อย จำนวน ๒๙ คน อำเภอขุนยวม จำนวน ๑๐ คน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จำนวน ๒ คน รวมทั้งหมด ๕๒ คน ทั้งนี้ การฝึกอบรมมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม ส่วนรายละเอียดการฝึกอบรม มีดังนี้
(>)กระบวนการความคาดหวัง/กลุ่มสัมพันธ์
(>)เรียนรู้ตำราผืนดิน กิจกรรมเดินชมพื้นที่
(>)เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
(>)หลักกสิกรรมธรรมชาติ
(>)ฝึกปฏิบัติฐานเรียนรู้ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ
(>)ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และทฤษฎีบันได ๙ ขั้นสู่ความพอเพียง
(>)จิตอาสาพัฒนาเอามื้อสามัคคีพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่
(>)การออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยตามหลักการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน
(>)ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
(C mark)(100%)รายงานภาพ/ข่าวโดย ทีมงานกลุ่มงานสารสนเทศฯ พช.แม่ฮ่องสอน#Change for Good#เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี๒๕๖๕#การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)#โคก หนอง นา โมเดลแม่ฮ่องสอน