อุบลราชธานี นำนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบฯ ร่วมพัฒนาพื้นที่ “โคก หนอง นา โมเดล” อ.ม่วงสามสิบ มุ่งพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน สร้างทางรอดในยุคโควิด-19
⏰วันที่ 7 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานฯ และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการปรับพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคกหนอง นา โมเดล” งบพัฒนาจังหวัด แปลงตัวอย่าง นางพัฒนาพร แดงสะอาด บ้านดงยาง ต.ดุมใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ดำเนินการปรับพื้นที่จำนวน 8 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการ 16 วัน ประกอบด้วย งานเคลียริ่ง 8 ไร่ งานขุดหนองและหลุมขนมครก ขนาด 7,000 คิว, งานขุดคลองไส้ไก่และปรับภูมิทัศน์ ขนาด 1,250 คิว รวม 8,250 คิว โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
🎗โอกาสนี้ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินการพัฒนาพื้นที่แปลงตัวอย่างฯ ซึ่งมีความคืบหน้าสามารถดำเนินการได้กว่าร้อยละ 80 พร้อมขอบคุณองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
📝นอกจากนั้น ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ยังได้พบปะและให้กำลังใจ “นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ” โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่“โคก หนอง นา โมเดล” อำเภอม่วงสามสิบ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้จำนวนกว่า 20 คน ที่ได้ร่วมศึกษาและพัฒนาพื้นที่แปลงตัวอย่าง โดยขอให้ทุกคนมุ่งศึกษาเรียนรู้หลักทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงพยายามพัฒนาตนเองและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงานจากที่ได้รับโอกาสให้เต็มที่ ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ร่วมไปกับกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อให้สังคมพึ่งตนเองได้อยู่เย็นเป็นสุข ส่งผลประโยชน์ต่อประเทศและระบบนิเวศของโลกด้วย
📌สำหรับนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” มีหน้าที่ในการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย วางแผน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตตามแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล / ทำงานตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ (หลักการทำเกษตรแบบพึ่งพิงธรรมชาติ) เช่น การปรับปรุงดิน ดูแลระบบน้ำ การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ บำรุงรักษา ทำให้พืช สัตว์เจริญเติบโต โดยการไม่ใช้สารเคมีทำการเกษตรแบบใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ในพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต / สนับสนุนองค์ความรู้แก่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่1)หมุนเวียนไปร่วมเอามื้อกับครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ใกล้เคียงเรียนรู้การเป็นครูพาทำ 2)สนับสนุนองค์ความรู้ แนะนำส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการพัฒนาพื้นที่แปลงต้นแบบ 3)สำรวจและจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิสังคมในพื้นที่เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านระบบ Digital Platform 4)ประสานงานการดำเนินงานโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับครัวเรือน / สื่อสารและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต และพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับครัวเรือน ให้กับผู้สนใจ / รายงานผลการดำเนินงาน 1)จัดทำแผนการปฏิบัติงานรายเดือน และรายงานผลการดำเนินงานที่รับผิดชอบทุกสิ้นเดือน 2)รายงานผลความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานตามโครงการในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้กรมการพัฒนาชุมชนทราบเดือนละ 1 ครั้ง 3)จัดทำสรุปผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่อการพัฒนาขยายผลโครงการที่สามารถนำไปสู่การวางแผนและกำหนดนโยบายเชิงพื้นที่ในอนาคตได้ 4)ปฏิบัติงานในหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
🔑จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคกหนอง นา โมเดล” จำนวน 4,489,200 บาท (สี่ล้านสี่แสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) และมอบหมายสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการฯ มีกลุ่มเป้าหมาย 25 แปลงตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล และพัฒนาแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” จำนวน 2 กิจกรรมหลัก คือ 1.กิจกรรมฟาร์มตัวอย่าง ได้แก่ กิจกรรมจิตอาสา สร้างและพัฒนาฐานเรียนรู้ และกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ 2.กิจกรรมขยายผลแปลงตัวอย่าง 25 แปลง กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมเวทีสร้างการรับรู้ฟาร์มตัวอย่างและโคก หนองนา / กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนการขับเคลื่อนแปลงตัวอย่าง / กิจกรรมเวทีขับเคลื่อนแปลงตัวอย่าง 25 แปลง / กิจกรรมเอามื้อสามัคคี สร้างและพัฒนาฐานเรียนรู้ในแปลงตัวอย่าง / กิจกรรมจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
📸 📰 งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี…ภาพข่าว/รายงาน