พัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เสร็จสิ้นกระบวนการอบรมการสร้างฅนโคก หนอง นา ศรีสะเกษ รุ่นที่ 2 **
วันที่ 25 ธันวาคม 2563
นายจรินทร์ รอบการ พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงานการดำเนินการฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรม สู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดศรีสะเกษ (รุ่นที่ 2) ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่“โคก หนอง นา โมเดล” ในครั้งนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 4 คืน 5 วัน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 25 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดศรีสะเกษ บ้านเตาเหล็ก หมู่ที่ 10 ตำบลเมืองหลวง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ของนางพรรณณี ต้อไธสง กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 102 คน มาจากพื้นที่อำเภออุทุมพรพิสัย, เมืองจันทร์, โพธิ์ศรีสุวรรณ และอำเภอบึงบูรพ์ ประกอบด้วย ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 78 คน และผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ จำนวน 24 คน
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เข้าอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล เป็นแกนนำการพัฒนา สามารถเป็นครูกระบวนการ ครูกสิกรรม ครูประจำฐานเรียนรู้การพึ่งพาตนเองและครูพาทำได้ ได้รับความร่วมมือและอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีจากท่านนายอำเภอห้วยทับทันและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและได้รับการสนับสนุนสถานที่ฝึกอบรมจากครอบครัวนางพรรณณี ต้อไธสง ได้รับการสนับสนุนที่พักแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากครัวเรือนโฮมสเตย์บ้านเตาเหล็ก, บ้านอ้อ, บ้านห้วยยาง และบ้านหนองเมย ได้รับการสนับสนุนวิทยากรบรรยายการจัดทำบัญชีครัวเรือนจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด ศรีสะเกษ และวิทยากรครูกระบวนการ ครูพาทำประจำฐานเรียนรู้ จาก 22 อำเภอ
ในการนี้ ท่านวิชัย ตั้งคำเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีมอบใบประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการฝึกอบรมฯ และให้โอวาสเน้นย้ำการนำไปปรับใช้ในชีวิต กล่าวชื่นชมผู้เข้าฝึกอบรมที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจตลอดหลักสูตร 4 คืน 5 วัน
ซึ่ง กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดสรรงบประมาณแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมที่ ๑ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้น การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล กำหนดดำเนินการจำนวน 14 รุ่นๆ ละ 5 วัน ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2563 – มีนาคม 2564 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,434 คน ประกอบด้วย ครัวเรือนพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 1,050 คน และผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ จำนวน 384 คน
#cddsisaket #พชศรีสะเกษ #อะไรๆก็ดีที่ศรีสะเกษ #ศรีสะเกษธานีผ้าศรีแส่ว #พชเปลี่ยนโลก #โคกหนองนาศรีสะเกษ
กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน : รายงาน