ตรัง ผู้ว่าฯ เรียกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน

ผู้ว่าฯตรัง เรียกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประชุมด่วน ภายหลังจากที่คันดินกั้นน้ำขาด ไม่ใช่พนังกั้นน้ำ ซึ่งคันดินดังกล่าวทางชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 ได้ทำแนวกั้นน้ำเพื่อก่อสร้างคลองลัดน้ำ ผันน้ำจากแม่น้ำตรัง ไหลลงสู่ทะเล และสั่งการให้ชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 เร่งแก้ไข เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชน
เมื่อคืนนี้ที่บ้านพักผู้ว่าราชดารจังหวัดตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการประชุม ติดตามปัญหาน้ำเอ่อล้นคันดินในพื้นที่ตำบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง โดยมี ปลัดจังหวัดตรัง นายอำเภอเมืองตรัง ชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 ป้องกันและสาธารณภัยจังหวัดตรัง เทศบาลนครตรัง กำนันตำบลหนองตรุดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่าได้รับแจ้งจากนายอำเภอว่ามีพี่น้องประชาชนแจ้งว่าตรงคันดินหมู่ที่ 1 ตำบลหนองตรุดเป็นสถานที่ก่อสร้างของกรมชลประทานระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ของสำนักงานก่อสร้างของกรมชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 มันเกิดพังเข้ามา ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวโครงการนี้ตรงที่คันดินพังจะเป็นปากทางของโครงการอยู่แล้ว

ซึ้งตอนนี้โครงการสร้างยังไม่เสร็จ เหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากว่า เราทราบดีว่าปริมาณฝนตกที่จังหวัดตรังเกือบทุกอำเภอ ในแต่ละอำเภอตกลงประมาณเฉลี่ย 60-80 ลบ.ม.ต่อวัน ตอนนี้สถานการณ์ได้รับแจ้งจากอำเภอมีสถานการณ์น้ำท่วมประมาณ 6 อำเภอ ที่มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน แจ้งผ่านมายังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ในส่วนที่มีปัญหาที่เกิดคันดินขาดและน้ำทะลักมาได้ให้ทางชลประทานใหญ่ที่ 11 ได้ชี้แจงว่าว่าโครงการตัวนี้ได้ดำเนินการสร้างใกล้จะแล้วเสร็จแล้วที่มันพังไปจะเกิดผลกระทบประชาชนในจุดไหนบ้างแล้วจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ซึ่งได้เชิญ ชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 นายอำเภอ ปภ. กำนันตำบลหนองตรุด ได้มาหารือกันว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วนอย่างไร
ขณะที่ นายรุทร์ อินนุพัฒน์ ผอ.สนง.ก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 กล่าวว่า สืบเนื่องจากผลที่ฝนตกต่อเนื่องหลายวันส่งผลทำให้น้ำในแม่น้ำตรังยกระดับสูงขึ้น ซึ่งวันนี้ วันที่ 13 ตุลาคม 63 ช่วงเวลาประมาณ 12.00 น. ปกติในแม่น้ำตรังทางชลประทานจะมีสถานีวัดน้ำท่าอยู่ตลอดลำแม่น้ำตรัง ซึ่งบริเวณบ้านกลางอำเภอเมืองเมื่อตอน 12.00 น.วันนี้ระดับน้ำในแม่น้ำตรังอยู่ประมาณ +8.1 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในขณะที่คันดินตรงสถานีวัดน้ำคันดินอยู่ที่ระดับ+9 เพราะฉะนั้นระดับน้ำเหลืออีกไม่ถึงเมตรที่จะไหลเอ่อล้นตัวคันกันน้ำแม่น้ำตรัง ในขณะเดียวกันน้ำที่ไหลจากตัวแม่น้ำตรังจะไหลมาตามเส้นทางที่ระบุไว้

ปัจจุบันตอนนี้ทางกรมชลประทานมีโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง ความก้าวหน้าของโครงการ ณ ปัจจุบันคลองผันน้ำที่เราก่อสร้างคลองผันน้ำที่จะแบ่งน้ำส่วนหนึ่งในแม่น้ำตรังเผื่อไม่ให้ไหลผ่านบริเวณตัวเมือง ปัจจุบันคลองตัวนี้ความก้าวหน้าประมาณ 95% เราขุดตัวคันดิน น้ำสามารถไหลทะลุผ่านไปได้แล้ว ณ เวลาตอนเที่ยงน้ำในแม่น้ำตรังที่สถานีวัดน้ำX228 อยู่ที่ 8.1ซึ่งพอดีอยู่ที่ระดับน้ำตรงปากทางเข้าตรงคลองผันน้ำเอ่อไหลพ้นเข้ามาในตัวคลองผันน้ำของเราพอดี ซึ่งพอน้ำไหลเอ่อล้นผ่านตัวคันบริเวณปากคลองผันน้ำเข้ามาในตัวคลองน้ำก็กัดเซาะตัวคันที่เราทำอุดเอาไว้ไหลลงในคลองผันน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำตรังส่วนหนึ่งที่ไหลมาจากตัวตั้งแต่ทุ่งสง ห้วยยอด รัษฎา มวลน้ำก้อนนั้นก็ถูกแบ่งออกมาไหลลงมาทางคลองลัดของเรา ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำในแม่น้ำตรัง ลดความเสี่ยงที่น้ำจะไหลเข้าไปในตัวเมือง แต่ตัวผลกระทบส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นคลองลัดจะตัดน้ำจากแม่น้ำตรังบริเวณหนองตรุดจะไปเชื่อมกับแม่น้ำตรังอีกจุดทางด้านท้ายด้านล่างที่บริเวณคลองช้างตำบลบางรัก

ซึ่งบริเวณตำบลบางรักน้ำปกติในแม่น้ำตรังถ้าไม่มีคลองลัดน้ำในแม่น้ำตรังก็จะไหลเอ่อบ่าอยู่แล้ว แล้วจะไปเอ่อล้นตรงบริเวณตำบลบางรัก แต่เมื่อน้ำไหลลงตรงบริเวณคลองลัดน้ำจะไหลลงเร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นกรมชลประทานก็จะเข้าไปตรวจสอบความเสียหายและเร่งระบายน้ำด้านล่างเพื่อที่จะระบายออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุดเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น และจะดำเนินการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำและจะเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มว่าน้ำท่วมขังน้ำไม่สามารถระบายออกได้จะสนับสนุนในเรื่องเครื่องสูบน้ำเพื่อที่จะสูบออกจากพื้นที่ลุ่มตรงนั้น ซึ่งปัจจุบันที่มวลน้ำที่เราได้ติดตามอยู่ในแม่น้ำตรังยังคงมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับต่อเนื่อง ถ้าสถานการณ์ฝนยังตกต่อเนื่องเราก็ยังติดตามสถานการณ์น้ำตรงนี้อยู่ ถ้าฝนทิ้งช่วงหยุดให้ก็คาดว่าน้ำจะลดระดับลง ซึ่งคลองผันน้ำตัวนี้จะเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่จะช่วยลด อย่างน้อยจากด้านบนบริเวณบ้านกลาง หนองตรุด น้ำปีนี้คงไม่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม เหมือนเช่นปีก่อน ๆ เพราะเรามีคลองผันน้ำที่จะช่วยระบายน้ำลงไปได้แล้ว ส่วนด้านล่างตำบลหนองตรุดตรงนี้จะได้รับผลกระทบเพราะมีน้ำไหลลงมาเร็วกว่าปกติ ซึ่งปกติน้ำในแม่น้ำตรังจะไหลอ้อมผ่านตัวเมืองและไปไหลลงหนองตรุดอยู่แล้ว ซึ่งการแก้ไขทางกรมชลประทานจะติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ สำรวจตรวจสอบในพื้นที่ลุ่ม เพื่อที่จะช่วยเร่งสูบระบายน้ำออก ช่วยเหลือชาวบ้าน สำหรับการช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนจะหาทางเร่งระบายน้ำออกให้เร็วขึ้นโดยติดตั้งเครื่องระบายน้ำและผลักดันน้ำออกให้เร็วขึ้น ไปดูกลุ่มที่เดือดร้อนในบ่งรักหาทางช่วยกับทางชลประทานโดยที่จะไปดูตรงที่บ้านเรือนที่เป็นที่ลุ่ม จะไปบล็อกตรงคันกั้นน้ำหาเครื่องสูบน้ำสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำลดลงรวดเร็วเพื่อจะลดผลกระทบที่เกิดกับพี่น้องประชาชน และทราบว่าพรุ่งนี้ทางท่ารองอธิบดีกรมชลประทานจะลงมาดูพื้นที่ด้วยตนเองที่จะลงไปสำรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบที่บางรักและบริเวณปลายน้ำที่รับผลกระทบของจังหวัดตรัง พื้นที่ที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบในพื้นที่ตำบลหนองตรุด 5 ครัวเรือน ทางท้องที่ท้องถิ่นกรมชลประทานเข้าไปช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้วแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้เบ็ดเสร็จแล้ว พื้นที่หมู่ที่ 2 หนองตรุดทางกรมชลประทานกับกำนันผู้ใหญ่บ้านติดตั้งเครื่องสูบน้ำมีการทำคันดินป้องเพื่อจะบีบบังคับน้ำที่เอ่อล้นให้ลงลำคลองลัด ส่วนพื้นที่บางรักทราบว่าทางกำนันและนายก อบต.ได้อพยพสิ่งของและชาวบ้านไปอยู่ในที่ปลอดภัยตามที่เราได้จัดไว้ และได้ประสานสั่งการกับทางตำรวจให้ช่วยลาดตระเวนจัดชุดลาดตระเวนฝ่ายปกครองในการที่จะดูแลความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่มีประมาณ 30 ครัวเรือนที่ได้รับความเดือดร้อน
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง