หมากเหลือง พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ จ.ปทุมธานี สร้างรายได้ ตลาดโลกต้องการสูง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ แปลงใหญ่หมากเหลือง ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี นายสมเดช คงกระพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี และกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกหมากเหลือง ได้สาทิตการปลูกหมากเหลือง และเยี่ยมชมแปลงหมากเหลือง
“หมากเหลือง ไม้ประดับนอกกระแสความนิยม” แต่ด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพและความต้องการของตลาดยังมีอยู่สูง หมากเหลือง จึงเป็นทางเลือกอาชีพเสริมของคนที่นี่ สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ปลูกอย่างงดงาม อีกทั้งยังเป็นอาชีพเสริม และอาจเป็นอาชีพหลักของบางคน ให้สามารถยังชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน มากว่าอาชีพการทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว
นายสมเดช คงกระพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธนี เดิมทีเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้มีอาชีพทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสมแก่การปลูกข้าว แต่ด้วยราคาผลผลิตข้าวที่ตกต่ำมาโดยตลอด เกษตรกรจำนวนหนึ่งจึงมารวมกลุ่มกัน เพื่อความอยู่รอด และมองหาช่องทางการปลูกพืชชนิดอื่นๆเพื่อเป็นรายได้เสริมทดแทนการทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว หมากเหลืองเป็นไม้ประดับนอกกระแสความนิยมแต่ความต้องการของตลาดยังคงสูงอยู่จึงเป็นทางลือกใหม่ของเกษตรกรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดไม้ดอกไม้ประดับซึ่งมีทั้งภายในและนอกประเทศสำนักงนเกษตรจังหวัดปทุมธนี และสำนักงานเกษตรอำภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรโดยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหมากเหลืองอย่างถูกวิธี สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ เพื่อช่วยในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืช ป้องกันโรคพืช อีกทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรยกมาตรฐานการผลิต เป็นแบบเกษตรปลอดภัย หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร
หมากเหลือง เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง แม้จะเป็นพืชที่ใช้เวลากว่า 8 เดือนจึงจะขุดจำหน่ายได้ แต่ก็คุ้มค่าเพราะราคาต้นหมากหลืองขนาดความสูงไม่เกินหนึ่งเมตรขั้นต่ำต้นละ 40 บาท ถ้าต้นขนาดความสูงเกินกว่าเมตรขึ้นไปราคาก็สูงมากขึ้น
ข้อดีของหมากหลืองยิ่งโตยิ่งได้ราคา จึงเป็นพืชที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพ
“หมากเหลือง” (Yellow pam) หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลางสูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5-12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน อยู่ใต้กาบใบ
นายสมคิด เงาภู่ทอง เกษตรกรผู้ปลูกหมากเหลือง ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรลำลูกกา เปิดเผยว่า จากที่ราคาผลผลิตข้าวตกต่ำมาโดยตลอดได้หันมาปลูกหมากเหลืองเป็นอาชีพเสริม โดยได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าวส่วนหนึ่ง แบ่งมาปลูกหมากเหลือง ช่วงแรกที่ปลูกหมากหลือง ยังไม่ประสบความสำเร็จและต้องประสบปัญหา คือหมากเหลืองไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น บ้างก็ยืนต้นตาย จากปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก จึงได้ค้นหาสาเหตุและได้พบว่า รากของหมากเหลืองไม่สามารถทนน้ำขังได้ เพราะปลูกในพื้นที่นาจึงยืนต้นตายในที่สุด
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้หันมาสนใจการปลูกหมากหลือง คือ การได้มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับจากเกษตรจังหวัดและเกษตรตำบล เริ่มจากการปลูกหมากหลืองเป็นไม้ประดับภายในบ้าน ปรากฎว่ามีกลุ่มพ่อค้ามาขอซื้อหมากเหลือง จึงมีแนวคิดหันมาปลูกหมากหลืองเป็นการค้า ปรากฏว่าหมากเหลืองเป็นไม้ประดับที่มีราคาดี ความต้องการของตลาดสูง จึงมีเกษตรกรบริวณใกล้เคียงสนใจปลูกหมากเหลืองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ การปลูกหมากหลืองจึงเป็นการสร้างรายได้เป็นอย่างดี บางครอบครัวมีรายได้ปีละหลายแสนบาทการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษต้นหมากหลืองให้เจริญเติบโต หลังจากปลูกต้องมีเวลาดูแลอย่างสม่ำเสมอ มีการกำจัด วัชพืช ใส่ปุ๋ยคอกและเสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 16- 16-16 ต้นละหยิบมือ โดยจะกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีทุกเดือน เป็นการเพิ่มปุ๋ยให้กับดิน ทำให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์และพืชเจริญเติบโตดี
การให้น้ำหมากเหลืองเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับพืชตระกูลปาล์ม ถ้าพื้นที่ใดไม่มีแหล่งน้ำไม่ควรปลูกหมากหลืองโดยด็ดขาด หลังปลูกลงแปลงแล้วควรให้น้ำให้ชุ่มวันละ1ครั้งพอหมากเหลืองอายุ ได้1-2 เดือนขึ้นไป ให้น้ำ 2-3 วันครั้ง ตามความเหมาะสม
นายสมคิด เงาภู่ทอง เกษตรกรผู้ปลูกหมากเหลือง เปิดเผยให้ฟังในท้ายนี้ว่า ผลผลิตหมากเหลืองที่สวนจะออกผลผลิตประมาณ ปลายเดือนกรกฎาคม- กันยายน หรือหลังจากปลูกไปแล้ว8 เดือน ก็สามารถขุดจำหน่ายได้ สำหรับพ่อค้ามาที่มาขุดเองที่สวนต้นขนาดสูงไม่เกิน 1 เมตร จำหน่ายราคา 40 บาทต่อต้นขนาดสูงเกิน 1 เมตร ราคา 50 บาทต่อต้น ส่วนที่ชาวสวนขุดให้ต้นขนาดสูงไม่เกิน 1 เมตร จำหน่ายราคา 70 บาท และขนาดสูงเกิน 1 เมตร จำหน่ายราคา 100 บาทขึ้นไป ราคาซื้อขายอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับขนาดและกลไกของตลาด นอกจากนี้ที่สวนยังมีเมล็ดพันธ์จำหน่ายอีกด้วย ซึ่งแต่ละปีทำให้มีรายได้รวมหลายแสนบาท และการยังชีพก็มีความมั่นคง ยั่งยืน ท่านที่สนใจการปลูกหมากเหลืองหรือต้องการมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่กลุ่มแปลงใหญ่หมากเหลืองบึงทองหลาง สอบถามข้อมูลได้ที่ นายจำเรียง ทองคำดี ประธานแปลงใหญ่ ที่ตั้งกลุ่ม 3/1 หมู่ 14 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150 ทร 081 – 9391432 หรือ สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทร 02 1910579
นายสมเดช คงกระพันธุ์ เกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้รับนโยบายจาก กรมส่งเสริมการเกษตร แล้วได้ดำเนินการโดย ใช้หลักคิดเชิงพื้นที่ จัดเวทีชุมชน ให้เกษตรกรเพื่อให้ทราบบริบทของพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกร อย่างแท้จริง เพื่อถ่ายทอดความรู้ ตามความเหมาะสม และความต้องการใน การแก้ไขปัญหา ของพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่นวัสดุอุปกรณ์ให้น้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตซึ่งเดิมจะใช้เรือลาก ไปตามร่องสวน ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกผักแบบหว่าน เป็นแบบเพาะกล้า เพื่อลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาจุดรวบรวมสินค้าให้ มีคุณภาพเป็นต้น ประกอบกับประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกและสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายการผลิตสินค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
หมากเหลือง (Yellow palm) เป็นพืชวงศ์ปาล์มตัดใบปลูกใช้ประโยชน์ได้สารพัด ทั้งตบแต่งสวน ประดับอาคาร เป็นพืชอาหาร พืชพลังงาน จนถึงใช้เนื้อไม้เพื่อสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทุกชนิดนั้นเราสามารถนำมาปลูกเพื่อใช้ประดับตบแต่งสถานที่ได้ทุกโอกาสแต่ต้องดูขนาด รูปทรง และความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักออกแบบจัดสวนทั้งภายในและนอกอาคารตามแนวคิดและความต้องการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ใช้กรองฝุ่น ซับเสียง พลางแสง บังแนวสายตา หรือเพื่อตัดใบใช้ประดับก็นับเป็นการเพิ่มมูลค่าได้หลายรูปแบบจากการใช้งาน เนื่องจาก ก้าน ใบ และใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ลำต้นไม่สูงมากนัก มีอายุยืนยาว สามารถปลูก และดูแลง่าย การปลูกหมากเหลืองมีการขยายการเพาะปลูกหมากเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เนื่องมาจากมีตลาดรองรับทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการผลิตมีตลาดรองรับชัดเจน เช่น ตลาดไท (โซนไม้ดอกไม้ประดับ) ตลาดไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15,ตลาดไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดปราจีนบุรี ตลาดต่างประเทศรองรับเช่นส่งออกไปประเทศจีน และมีแนวโน้มที่จะมีการขยายตัวของตลาดเพิ่มมากขึ้น หมากเหลืองชจึงพืชเศษฐกิจตัวใหม่ที่สามารถสร้างรายได้อย่างงามให้เกษตรกร