สสจ.นครปฐมประชุมการทบทวนนโยบายและแนวทางการดำเนินงานระหว่างผู้บริหารกับหน่วยงานระดับอำเภอระดับตำบล

สสจ.นครปฐมประชุมการทบทวนนโยบายและแนวทางการดำเนินงานระหว่างผู้บริหารกับหน่วยงานระดับอำเภอระดับตำบล

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น4อาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสามพราน(วัดไร่ขิง)อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

นายแพทย์สามารถ  ถิระศักดิ์  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม  เป็นประธานการประชุมการทบทวนนโยบายและแนวทางการดำเนินงานระหว่างผู้บริหารกับหน่วยงานระดับอำเภอ ระดับตำบล  จังหวัดนครปฐม  โดยมี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม  สาธารณสุขอำเภอทุกแห่งของจังหวัดนครปฐม  รวมทั้ง รพ.สต.ทุกตำบลในจังหวัดนครปฐม  เข้าร่วมประชุม   ภายใต้การวิเคราะห์ เงื่อนไขสถานการณ์ บริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง และนโยบายระดับชาติ   ว่าด้วยกรอบแนวทางที่สำคัญของแผนยุทธศาสตร์การสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2563-2565   สถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม   โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  โรคไข้เลือดออก   โดยอัตราป่วยด้วยโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 10 อันดับแรกจังหวัดนครปฐม ปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 และค่ามัธยฐานย้อนหลัง5ปี 2558 ถึง 2562 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 4 กรกฎาคม 2563 ได้แก่  1.โรคอุจจาระร่วง   2.ไข้หวัดใหญ่  3.ไข้ไม่ทราบสาเหตุ  4.ปอดบวม   5.ไข้เลือดออก  6.ตาแดง 7.สุกไส  8.อาหารเป็นพิษ 9.มือ เท้า ปาก และ10.ไวรัสตับอักเสบ    ในส่วนของศูนย์ปฏิบัติการโควิด-19 จังหวัดนครปฐม ผู้ป่วยยืนยัน  ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เวลา 9.00 น. ผู้ป่วยยืนยันในระบบของจังหวัด มี 23 ราย นอกระบบจังหวัด6ราย รวมทั้งหมด 29 ราย พักอาศัยในจังหวัดนครปฐม 27 ราย

DCIM100GOPROGOPR1162.JPG
DCIM100GOPROGOPR1164.JPG
DCIM100GOPROGOPR1172.JPG
DCIM100GOPROGOPR1174.JPG
DCIM100GOPROGOPR1180.JPG
DCIM100GOPROGOPR1181.JPG

และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 350 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38.57 ต่อประชากร แสนคน  เป็นอันดับที่ 24 ของประเทศ และพบผู้ป่วยเสียชีวิตหนึ่งราย  คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.31 ซึ่งกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 ถึง 14 ปี ในส่วนอาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน  และอำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากร แสนคน สะสมสูงสุดคืออำเภอกำแพงแสน   ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีทิศทางที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นระบบบริการทุกระดับ รวมถึงการพัฒนาความเชี่ยวชาญระดับสูง  ที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับ เขต จังหวัดและระดับหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ  สำหรับผู้บริหาร  ผู้ปฏิบัติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามนโยบายปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป