สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีมอบทุนการศึกษาให้กับผู้แทนสถานศึกษา8แห่งและข้าวสารสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นองค์ประธานในพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับผู้แทนสถานศึกษา 8 แห่ง ในเขตจังหวัดนครปฐม และข้าวสาร ที่ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี มอบให้วัดสว่างอารมณ์ เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ตกอยู่ในสภาวะโรคระบาดไวรัสโควิด-19 โดยมอบต่อให้กับผู้แทนชุมชน โดยมี พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสำโรง พระครูโกวิทสุตการ รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา พระครูยติธรรมานุยุต รักษาการเจ้าคณะตำบลบางกระเบา เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ และนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม และคณะถวายการต้อนรับ พร้อมร่วมมอบทุนการศึกษา และเปิดโครงการตู้พระทำ นำสุข ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อให้พระสงฆ์นำอาหารที่ได้รับจากการบิณฑบาต ซึ่งนอกเหนือจากการฉันไปใส่ตู้ ส่วนประชาชนที่มีกำลังเพียงพอสามารถนำอาหารและสิ่งของต่างๆ มาร่วมสมทบได้
ในการนี้ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ได้กล่าวสัมโมทนี ใจความว่า ตามที่วัดสว่างอารมณ์ อำภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และข้าราชการได้พร้อมใจกันที่จะน้อมปฏิบัติตามพระราชดำริของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งถือว่าเป็นการอนุเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ชาวบ้านก็ช่วยวัดและในบางขณะวัดก็ช่วยชาวบ้าน อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีไมตรีจิต มีความกรุณาซึ่งกันและกัน อันนี้ถือว่าเป็นวิถีพุทธที่ดีของชาวพุทธ ที่ได้น้อมนำพระดำริที่องค์สมเด็จพระอริยะวงศาคตณาน สมเด็จพระสังราช ได้ประทานมาเป็นแนวทางให้เกิดการร่วมมือร่วมใจนำสันติสุขมาสู่ประชาชนและทางคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมก็ได้เอื้อเฟื้อร่วมกับข้าราชการในท้องถิ่นในกรสนองพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่งที่ได้ทำและปฏิบัติโดยไม่ได้นิ่งนอนใจก็ขออนุโมทนาอีกครั้งในน้ำใจอันดีงาม ของท่านทั้งหลายในครั้งนี้อาตมาภาพก็ขออำนาจคุณพระศรีรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายยให้พุทธะศาสนิกชนพุทธบริษัทภิกษุสามเณรอุบาสกวัสสิกาข้าราชการประชาชนทุกท่านมีอายุมั่นขวัญยืนมีร่างกายแข็งแรงร่มเย็นเป็นสุขตลอดกาลมีความสุขกายสุขใจอิ่มเอิบ ด้วยความสำเร็จสำเร็จสำเร็จสมความปรารถนา ปรารถนาสิ่งใดที่ชอบธรรมแล้วไซร้ก็ขอให้สิ่งนั้นสัมฤทธิ์ผลโดยเร็วพลันด้วยเทอญ ขอเจริญพร
และต่อจากนั้น สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ได้ปลูกผักสวนครัว นำสุข พอเพียง เพื่อเพียงพอ พร้อมด้วย พระครูยติธรรมานุยุต รักษาการเจ้าคณะตำบลบางกระเบา เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดสำโรง พระครูโกวิทสุตการ รองเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี เจ้าอาวาสวัดโคกเขมา นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 10 / 2563 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เลขาธิการมหาเถระสมาคมเสนอว่าตามที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 ส่งผลกระทบให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงค์ชีวิตประจำวันต้องปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด การป้องกันและรักษาโรคนำไปสู่ความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องของเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ซึ่งในสถานการณ์ดังกล่าวสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกได้มีพระดำริให้วัดที่มีศักยภาพจัดตั้งโรงทานและมอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้ประสานตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบันและทั่วประเทศมีวัดที่มีศักยภาพจัดตั้งโรงทานทั้งในกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาคจำนวนทั้งสิ้น 1,005 วัดนั้น การนี้วัดสว่างอารณ์และคณะสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 ประกอบกับในสถานการณ์ความยากลำบาก ที่ประชาชนต้องประเชิญอยู่ในขณะนี้หลายวัดได้บูรณาการระหว่างโรงทานตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราชกับศาสตร์พระราชาปัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางสำคัญที่สามารถนำมาปฏิบัติบนทางสายกลาง ให้เกิดความพอเพียงและมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยความรู้ รอบคอบและความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลย์และยั่งยืน เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินการศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โรงทานตามพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นสมควรแนวคิดการทำสวนครัวนำสุขพอเพียง เพื่อความพอเพียง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมให้วัดต่างๆที่มีพื้นที่เชิญชวนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบว่างงานหรือยังไม่ได้กลับไปประกอบอาชีพในสถานประกอบการต่างๆโดยได้ดำเนินตามวิถีพุทธ วิถีเกษตรปลูกผักสวนครัวในพื้นที่วัดนั้นๆและนำไปปรุงอาหาร ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบต่อไป