สระบุรี มูลนิธิเอลซีจี ส่งมอบ นวัตกรรมห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความสี่ยง โควิด-19

สระบุรี    มูลนิธิเอลซีจี ส่งมอบ นวัตกรรมห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความสี่ยง โควิด-19 ยูนิต อันดับที่ 5 ของประเทศมูลค่า 4.4 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลระบุรี
วันที่ 27 เม.ย.63 ที่ บริเวณ โรงพยาบาลสระบุรี นายศาณิต เกษสุวรรณ ผู้แทนมูลนิธิเอสซีจี นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Busines พร้อมคณะ ได้จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาลสระบุรีโดยมีนายแพทย์อนันต์ กมลเนตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสระบุรี รับมอบ และนายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวขอบคุณ ผู้แทนมูลนิธิเอสซีจี ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19  การส่งมอบนวัตกรรมห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความสี่ยง ทางมูลนิธิเอสซีจี เล็งเห็นถึงความสำคัญ บุคลากรทางการแพทย์ของทางโรงพยาบาลสระบุรี จึงจัดสร้าง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ของบุคลากรทางการแพทย์ในขณะปฎิบัติหน้าที่ ด้วยการแยกพื้นที่ทีมแพทย์คนไข้ออกจากกัน และใช้ระบบควาบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม พร้อมระบบฆ่าเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างผู้ใช้งาน โดยจัดสร้างและส่งมอบจำนวน 2 ยูนิต พร้อมห้องน้ำสำเร็จรูป 1 ยูนิต รวมมูลค่า 4.4 ล้านบาท ซึ่งโรงพยาบาลระบุรี ถือเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ


นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Busines ในธุรกิงซีเมนต์และผถิดภัณฑ์ ก่อสร้าง เอสซีจี เผยว่า นวัตกรรมห้องตรวงและคัดกรองผู้ที่มีความสี่ยงได้รับการออกแบบและพัฒนาจากเทคโนโลยีเละนวัตกรรมของ SCG HEIM และ Living Solution จากเอสซีจี โดยโครงสร้างกว่าร้อยละ 70-80 จะถูกประกอบขึ้นรูปภายในโรงงาน ใช้วลาติดตั้งที่หน้างานพียง 2 วัน ที่มีการควบคุมคุณภาพและความสะอาดตลอดกระบวนการผลิต อีกทั้งกายในห้องยังถูกออกแบบให้ระบบและความดันที่หมาะสม ด้วยระบบควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศ ที่สะอาด ปลอดภัยลคโอกาสติดเชื้อ และ ระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล (Artightes) ที่ช่วยป้องกันฝุ่น เสียง และอากาศ เข้า-ออกตัวอาคาร โดยทีมแพทย์จะอยู่ในห้องที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไป อากาศภายในจึงบริสุทธิ์ปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจะอยู่ในห้องที่ป้องกันไม่ให้มี อากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก เพื่อสร้งความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์


ทั้งนี้ ห้องคัดกรอง(Modular Sereening Uni) จะถูกปรับความดันอากาศให้ผลักอากาศเสียออก และเพิ่ม Bio-Polar Ion เพื่อจับเข้ากับโมเลกุลของเชื้อไวรัสที่อาจหลุดรอด ซึ่งทีมแพทย์ พยาบาล จะอยู่ในห้องปิดสนิท และซักประวัติผู้ป่วยผ่านกระจกที่มีอุปกรณ์สื่อสาร ส่วน ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Uni) จะเเยกคนไข้มาอยู่ในห้องปรับความต้นอากาศ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสฟุ้งกระจายพร้อมใช้แสงยูวีเข้มขันสูงฆ่าเชื้อโรคต่างๆ(uvGermicide) หลังการใช้งานห้องทุกครั้ง ซึ่งการเก็บตัวอย่าง(Swab) จะทำผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่อง โดยแพทย์สามารถสอดมือผ่านช่องที่มีถุงมือคลุมด้วยพลาสติกเพื่อเก็บตัวอย่าง จึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการทั้งหมดจะถูกแยกเป็นส่วนย่อย ๆ (Cel) เพื่อเเยกปิดได้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดการรั่วระหว่างห้องบุคลากรทางการแพทย์กับห้องผู้เข้ารับการตรวจอีกด้วยในขณะที่ ห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) มีโครงสร้งที่ผลิตจากคอนกรีตเบาแบบเบ็ดเสร็จพร้อม ใช้งานจากโรงงาน ทำความสะอาดฆ่าเชื้อง่ายจึงช่วยสร้างสุขอนามัยที่ดี โดยจัดวางแยกพื้นที่สำหรับบุคลากรทาง
สัมฯนายวชิระชัย คูนำวัฒนา…….. วันชัย หวังวีระ……รายงาน