ตรัง ประชุมคณะกรมการโรคติดต่อจังหวัดกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ตรัง ประชุมคณะกรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง ครั้งที่ 3/2563 เพื่อมีมติออกประกาศจังหวัด (ฉบับ 2) เรื่อง มาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตามมติคณะรัฐมนตรี
ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดตรัง นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตรัง ครั้งที่ 3 เพื่อมีมติออกประกาศจังหวัดตรัง ( ฉบับ 2 ) เรื่องมาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมติ คณะรัฐมนตรี หลังจากที่จังหวัดตรังได้มีการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคระบาดระดับจังหวัด มติที่ประชุมเห็นชอบกับแนวทางมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤติการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของมหาดไทย และเพื่อให้การปฏิบัติและการดำเนินการสอดคล้องกันทั่วประเทศ จึงได้ออกประกาศมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 18 มี.ค.ถึง 31 มี.ค.2563   ทั้งนี้เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยพบว่ามีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชน มีความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีความเสี่ยงที่จะยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และก็ยังมีความเสี่ยงที่มาจากผู้ที่เดินทางจากนอกราชอาณาจักร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศในเรื่องของท้องที่อาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคอันตรายผู้ติดเชื้อ Covid – 19 ใน 4 ประเทศ อาศัยอำนาจตามมาตรา 21 (1) ได้กำหนดอำนาจให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดได้ดำเนินการตามนโยบายด้วยระบบแนวทางการเฝ้าระวังการควบคุมโรคติดต่อที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 มี.ค.2563 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้เน้นย้ำให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในการสร้างการรับรู้

สร้างการตระหนักรู้ในการปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกินร้อนช้อนกลาง อยู่ห่าง และในจังหวัดตรังจะกำหนดจัด Big Cleaning Week ส่วนในเรื่องของกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะปฏิบัติ ก่อนอื่นขอสร้างความเข้าใจในเรื่องของการไม่สร้างให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน อย่างเช่น กรณีบริจาคโลหิต ก็ควรจะอยู่ในระยะห่าง และหมุนเวียนกันมาบริจาคครั้งละ 10 คน เป็นต้น การดูแลประชาชนก็ลักษณะอย่างนี้เช่นไปประชุม เรื่องการทำมาหากินของประชาชนต้องยึดมาตรการตรงนี้ นึกถึงความเดือดร้อนของประชาชน แต่ถ้าการจัดงานที่มีคนมามากอย่างนี้ก็ต้องหยุดไปก่อน อะไรที่เสี่ยง ที่ไปสัมผัส ก็ขอให้แยกอย่าไปแออัด ในส่วนของจังหวัดตอนนี้ได้ดำเนินการเร่งจัดทำสติ๊กเกอร์คิวอาร์โค๊ด เพื่อให้พี่น้องชาวตรังได้รับรู้ในเรื่องของโรค Covid-19 ได้อย่างชัดเจน โดยให้ทางสำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยบูรณาการกับสำนักงานสาธารณสุข ให้ทุกส่วนราชการกระทรวงมหาดไทยลงถึงพื้นที่ตำบลหมู่บ้าน เพราะมี อปท.อยู่ด้วย กระทรวงสาธารณสุขให้ลงถึง อสม. เพราะบุคคลเหล่านี้มีองค์ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของการสาธารณสุข นี่คือช่องทางที่ชัดเจน และช่องทางขยายความตามมติคณะรัฐมนตรี
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง