อุบลราชธานี โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาพื้นที่ชลประทานลุ่มแม่น้ำมูล ผุด24 สถ
พื้นที่ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เพื่อให้เสร็จภายในปี 62 พร้อมผลักดันงบประมาณก่อสร้างต่อไป
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562กรมชลประทานจัดกิจกรรมกิจกรรมสื่อสัญจร ที่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยในภาคเช้า ได้ไปได้ลงพื้นที่ เขื่อนปากมูล อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรับทราบข้อมูลปริมาณน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ ของแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำมูลตอนล่าง นายมานพ หงคำเมือง ผู้ช่วยกองโรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร ปากมูล พร้อมทีมงาน ร่วมให้ข้อมูลกับคณะที่ลงพื้นที่ในวันนี้ จากนั้น ได้เดินทางมาที่ สถานีสูบน้ำ PL-5 บ้านนาคำ ต.กุดลาด จ.อุบลฯ เพื่อร่วมเวทีเสวนา แลกเปลี่ยน ของโครงการ นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี
นายธนบดี รักสัตย์ หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม นายสง่า วาจาสัตย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านนาคำ นายสุนัน บุญรักษา และ นายวุฒินนท์ คำเดช ผู้จัดการโครงการ ร่วมเสวนา ทางด้าน นายสัมพันธ์ เดือนศิริรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุบลราชธานี กล่าวว่า โครงการชลประทานอุบลฯ มีหน้าที่รับผิดชอบ ในเรื่องของการวางแผน ควบคุม ดำเนินการส่งน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำ รวมถึงโครงการพิเศษต่างๆ เช่น โครงการในพระราชดำริ โครงการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนภาระกิจของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการดังกล่าว ทางกรมชลประทาน ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบชลประทาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจำนวน 54 สถานี ริม 2 ฝั่งแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขา มีพื้นที่ชลประทานรวม 86,250 ไร่ ได้ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จากนั้นในปีพ.ศ. 2558 กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษารายงานพิเศษ (Special Report) โครงการพัฒนาพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำมูลตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ลุ่มน้ำสาขา
เพื่อแก้ไข้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ชลประทานขนาดกลางโดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าไว้ 24 สถานี หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถพัฒนาระบบชลประทานส่งน้ำช่วยพื้นที่ 2 ฝั่งริมแม่น้ำมูลได้ 670,454 ไร่โดยปัจจุบัน กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาออกแบบ จำนวน 6 สถานี ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 สถานี ศึกษาแล้วเสร็จอยู่ระหว่างการจัดจ้าง 2 สถานี อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา 1 สถานี เพื่อให้การพัฒนาลุ่มน้ำมูลตอนล่างแล้วเสร็จโดยเร็ว กรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท พี แอนด์ ซี แมเนจเมนท์ จำกัด บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด ศึกษาโครงการอีก 18 สถานีที่เหลือ โดยจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งผลประโยชน์ของโครงการสถานีสูบน้ำ 24 สถานี พื้นที่รับประโยชน์ฤดูฝนประมาณ 438,953 ไร่ ฤดูแล้งประมาณ 141,093 ไร่ เกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 23,370 ครัวเรือน ในการดำเนินโครงการได้มีเป้าหมายของการพัฒนาโครงการเพื่อพัฒนาระบบสูบน้ำเพื่อการชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนล่างให้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มผลผลิตในฤดูฝนให้มากขึ้น เนื่องจากมีน้ำเสริมช่วงฝนทิ้งช่วง ยังสามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในฤดูแล้งให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพของน้ำต้นทุน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้อยู่ดีมีสุขกัน สำหรับการศึกษาความเหมาะสมนี้ จะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2562 จากนั้นกรมชลประทานจะนำผลการจัดลำดับความเหมาะสมของทั้ง 18 สถานี เข้าแผนพัฒนาเพื่อทำข้อตกลงร่วมกับเกษตรกรตามระเบียบของกรมชลประทานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าไฟฟ้า จัดทำรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบให้ครบต้องเห็นด้วยทั้งหมด ทำการออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้างต่อไป
เอกชัยโปธา ข่าวภูธร รายงาน