ทีมสัตวแพทย์จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ผ่าพิสูจน์การตายของฉลามวาฬ เบื้องต้นสาเหตุการตายน่าจะมาจากลามวาฬมีอาการป่วย เนื่องจากในกระเพาะอาหารไม่พบสิ่งผิดปกติจำพวกขยะทะเล
ที่บริเวณหมู่ที่ 6 บ้านหาดยาว อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทั้งนี้นายไมตรี แสงอริยนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 ,นายวรรณ ชาตรี ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง สัตวแพทย์หญิง ปิยรัตน์ คุ้มรักษา นายสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่จากจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ทำการผ่าพิสูจน์ซากฉลามวาฬ ที่ตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลไปพบซากฉลามวาฬลอยตายห่างจากเกาะลิบงประมาณ 1 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่และชาวบ้านได้ช่วยกันลากซากฉลามวาฬมายังฝั่งที่บ้านหาดยาว เพื่อให้ทีมสัตวแพทย์ทำการผ่าพิสูจน์ซากฉลามวาฬที่ตายดังกล่าว
ทั้งนี้ทีมสัตวแพทย์นำโดยสัตวแพทย์หญิง ปิยรัตน์ คุ้มรักษา นายสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่จากจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ได้ทำการผ่าซากฉลามวาฬโดยมีการตัดอวัยวะและชิ้นเนื้อ เพื่อเก็บตัวอย่างไปทดสอบ ซึ่งสัตวแพทย์หญิง ปิยรัตน์ คุ้มรักษา กล่าวว่าจากการผ่าพิสูจน์เบื้องต้น และตรวจกระเพาะอาหารไม่ขยะพลาสติกหรือขยะทะเล มรกรเพาะอาหารพบเพียงลูกปลาในกระเพาะอาหารเท่านั้น จึงสันนิษฐานเบื้องต้นสาเหตุ น่าจะมาจากฉลามวาฬมีอาการป่วยตาย ส่วนร่องรอยบาดแผลที่ครีบนั้นมาจากพัดใบเรือ แต่น่าจะเกิดมานานแล้วและไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ฉลามวาฬตาย อย่างไรก็ตามทางทีมสัตว์แพทย์จะนำชิ้นตัวอย่างที่เก็บได้จากฉลามวาฬไปตรวจสอบในแล็ป อีกครั้ง ต้องใช้ระยะอีกสักพัก ทั้งนี้ฉลามวาฬได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สงวนและคุ้มครองในปี 2562 เนื่องฉลามวาฬมีจำนวนลดลงจึงต้องมีการป้องกัน เพื่อไม่ให้ฉลามวาฬลดลงไปมากกว่านี้ ซึ่งฉลามวาฬที่ตายนั้นเป็นเพศผู้ อยู่ในช่วงวัยกำลังเจริญเติบโต
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง