นครปฐม อบต.ท่าตลาดร่วมกับโรงพยาบาลสามพราน จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี ชีวีมีสุข    

อบต.ท่าตลาดร่วมกับโรงพยาบาลสามพราน จัดโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี ชีวีมีสุข

เมื่อวันที่15 พฤศจิกายน  2562 ที่ ลานกีฬาเอนกประสงค์ อบต.ท่าตลาดอ.สามพราน จ.นครปฐม

อบต.ท่าตลาดร่วมกับโรงพยาบาลสามพราน จัดโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี ชีวีมีสุข  โดยมี เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม เป็นวิทยากรจัดกิจกรรม  การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ให้บริการตรวจสุขภาพ เบื้องต้น วัดความดัน เบาหวาน แก่ผู้สูงอายุตำบลท่าตลาด และมีการจัดสันทนาการ เพื่อความสนุกสนาน โดยมีชมรมจิตอาสาดอกกระทุ่มบาน จากเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม มาร่วมสร้างสีสัน ร้องเพลง สร้างความเพลิดเพลินให้ผู้สูงอายุ  ซึ่งประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะ นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้น ปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย

 

ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะ กระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอด เลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการ พัฒนาการ ซึ่งมีภาวะร่างการที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัว และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป