อุบลราชธานี ปลูกผัก ริมโขง ตามวิถีชาวบ้าน สร้างรายได้ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพดี
วิถีชีวิตชาวบ้านริมแม่น้ำโขงหลังฤดูทำนา ปลูกผักขายหลังน้ำลด ได้ผลผลิต สะอาดสวยงาม ปราศจากสารเคมี ราคาไม่แพง รสชาติ หอมอร่อย สร้างรายได้เสริม สร้างชีวิตความเป็นอยู่ไม่ขัดสน มากว่าครึ่งทศวรรษ ที่ ริมแม่น้ำโขง บ้านนาสนาม ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี หลังจากหมดฤดูทำนาแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่ก็ได้มาทำอาชีพเสริม ด้วยการปลูกผักขาย ซึ่งผักบริเวณนี้ได้ให้ผลิตที่สะอาดสวยงาม ปราศจากสารเคมี ราคาไม่แพง รสชาติ หอมอร่อย สร้างอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ขัดสนให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ มากว่า 50 ปี
นางเตือน รักษ์ไทย อายุ 46 ปี เกษตรกรปลูกผักริมโขงบ้านนาสนาม ได้เผยว่า ตนได้ปลูกผักบริเวณริมแม่น้ำโขงแห่งนี้มาร่วม 20 ปีแล้ว โดยได้ปลูกผักกวางตุ้ง ผักสลัด ผักชีหอม ขึ้นฉ่าย กระเทียม หอม เมื่อก่อนมีพื้นที่ในการปลูกมากกว่านี้แต่ช่วงหลัง ตลิ่งทรุดตัวพังลง ทำให้เนื้อที่ในการปลูกก็ลดน้อยลงไปด้วย ซึ่งช่วงที่เริ่มการปลูกอย่างจริงจังก็คือช่วงที่น้ำโขงลดลงของทุกปี โดยในปีมีนั้น จะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งจะทำการขุดดิน แบ่งแยกเป็นแปลงๆ จากนั้นก็นำเมล็ดผักมาหว่านในแปลงหว่าน พอเริ่มเติบโตเป็นใบขึ้น ถึงนำมาลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ไม่เกินสองเดือนก็สามารถเก็บผลผลิตแล้วนำไปขายได้ โดยรายได้จากการขายผักในช่วงที่ผ่านมาสามารถส่งลูกเรียนจบจนได้เป็นครูในปัจจุบัน
ซึ่งผักที่ตนขายจะมัดขายเป็นกำ ซึ่งจะขายกำละ 10 บาท และ 3 กำ 20 บาท
นายปรจน นุชนิกรอายุ 68 ปี เกษตรกรในแปลงติดกัน ได้กล่าวว่า ในส่วนของตนนั้น ได้ปลูกพืชริมโขงมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 หรือ 50 ปี มาแล้ว ตอนนั้นก็ปลูกผักเกือบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ผักกาด หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ มะเขือเปราะ คะน้า เมื่อก่อนนั้นพื้นที่ในการปลูกผักเรียบ สามารถปลูกบริเวณริมน้ำได้อย่างสบาย ไม่ลาดชัน เหมือนในปัจจุบัน ช่วง 1 – 2 ปีหลังบริเวณนี้เกินดินทรุดตัวบ่อย จึงทำให้พื้นที่ในการปลูกลดลงเรื่อยๆ
นายปรจน ยังกล่าวว่าอีกว่า พื้นที่ริมโขงแห่งนี้ จะปลูกผักอะไรก็ได้ผลผลิตที่สวยงาม ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลยาก บางทีได้ทำเมล็ดผลหลุดร่วงลงไปในพื้นดินในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิต พอหลังจากที่น้ำโขงได้ลดลงก็ได้เกิดเป็นต้นงอกเงยขึ้นมาเอง ถ้าไปปลูกตามท้องไร่ท้องนาก็จะเจอปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องการขาดแขลนน้ำ ,เรื่องความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินบ้าง การปลูกพืชริมโขงไม่ต้องใช้การดูแลมาก 3-4 วัน ถึงจะรดน้ำที ดินในบริเวณนี้ชุมชื่น เป็นทรายบนดินเหนียว โปร่งไม่แน่น จนเกินไป ผู้ที่สนใจสามารถ ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน จับจ่ายซื้อผัก หรือสัมผัสบรรยากาศ เย็นสบายริมแม่น้ำโขง ได้ที่ บ้านนาสนาม ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
ธนัชชัย จึงเจริญ รายงาน