พช. ร่วมมือร้อยใจรักษ์ ต้านยาเสพติด ภาคเหนือ

พช. ร่วมมือร้อยใจรักษ์ ต้านยาเสพติด ภาคเหนือ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแบบสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม ด้วยการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบในการจัดทำแผนหมู่บ้าน เป้าหมาย การขยายผลโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและพะเยา ตามแผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ แบบเบ็ดเสร็จ (พ.ศ.2562 – 2565) และมอบแนวทางปฏิบัติการจัดทำแผนหมู่บ้าน/ชุมชน ในการขยายผลโครงการฯ ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชา ด้านการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) มาพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างมีส่วนร่วมในทุกมิติ ตามศาสตร์พระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวง ณ ห้องประชุม R504 ชั้น 5 อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมีนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวต้อนรับ และนายจำเริญ ยุติธรรมสกุล ที่ปรึกษาสถาบันฯ ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ รักษาการเลขาธิการมูลนิธิรากแก้ว กล่าวรายงานชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุมฯ

โดยโครงการร้อยใจรักษ์ ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงมีพระเมตตาต่อพี่น้องในพื้นทุรกันดาร ที่มีประวัติการแพร่ระบาดของยาเสพติด พระราชทานตราสัญลักษณ์ร้อยใจรักษ์ ที่เป็นเครื่องเตือนใจให้ไม่ทำงานคนเดียวต้องเป็นทีม และทีมไม่ใช่เฉพาะคนในโครงการ แต่ยังรวมถึงผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำตามธรรมชาติ ที่ต้องอาศัยความเสียสละมารวมทำงานร่วมกัน โดยเป็นโครงการพัฒนาทางเลือกโดยศาสตร์พระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวง มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น ภายใต้หลักการ “อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน” เพื่อให้ลด ละ เลิก ยาเสพติดอย่างยั่งยืนต่อไป โดยการดำเนินงานตามโครงการ ในระยะที่ผ่านมา ณ บ้านห้วยส้าน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และหมู่บ้านข้างเคียง ซึ่งจากผลความสำเร็จรัฐบาลจึงมีการขยายผลโครงการออกไปยังหมู่บ้าน/ตำบล เป้าหมายที่มีสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ 119 ตำบล 19 อำเภอ ใน 4 จังหวัด โดยให้ส่วนราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการขยายผลโครงการฯ ในระยะแรก จำนวน 47 หมู่บ้าน 33 ตำบล ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือแบบเบ็ดเสร็จ (พ.ศ.2562 – 2565)

ในการประชุมครั้งนี้ อธิบดีฯ ได้เน้นย้ำว่าในการทำงานพัฒฯา สิ่งสำคัญคือ การเสียสละ มีความรู้ ความเข้าใจในงาน ยึดหลักของพระพุทธเจ้า เรื่อง อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นหลักปฏบัติ โดยให้ทุกคนรู้ทุกข์ รู้รับผิดชอบ รู้การเสียสละ และนำมาเป็นหลักฏิบัติในการทำงาน พร้อมทั้ง มอบแนวทางการดำเนินงานโดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา คือ หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ ได้แก่ 1) น้ำ คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดยการพัฒนาแหล่งน้ำ การเก็บน้ำไว้ใช้ และใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ดิน คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาในเรื่องของสภาพดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร โดยการปรับปรุงดิน ปลูกหญ้าแฝก 3) เกษตร คือ การนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละพื้นที่ 4) พลังงานทดแทน คือ การปรับใช้พลังงานให้เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยการคิดค้น พัฒนาพลังงานทางเลือก ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เช่น ไบโอดีเซล หรือเชื้อเพลิงสีเขียว เป็นต้น 5) ป่า คือ การลดการตัดไม้ทำลายป่า และส่งเสริมให้มีการปลูกป่าในรูปแบบต่าง ๆ โดยการปลูกฝังจิตสำนึกให้ชุมชนเห็นความสำคัญของป่า รู้รักษา ดูแล จะใช้ก็ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และสุดท้าย 6) สิ่งแวดล้อม คือ การนำแนวทางการกำจัดของเสีย (ขยะ) และบำบัดน้ำเสียมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว นอกจากนี้หลักการพัฒนาชุมชนที่สำคัญ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ สู่ ความมั่นคง ในอาหาร พลังงาน มั่งคั่ง ด้วยการมีงาน มีอาชีพ มีรายได้ และยั่งยืน ด้วยการเกื้อกูลคนด้วยโอกาส รักษาสิ่งแวดล้อม และมีสวัสดิการ และการที่จะสามารถทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ต้องให้ทุกคนได้มีบทบาทในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาชุมชนของตนเอง ด้วยความสมัครใจ ต้องได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมทำ และร่วมประเมินผล อีกแล้วชุมชนจะพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

สถานีข่าว พช.CNS รายงาน