ราชมงคลตรังรวมพลัง “Big Cleaning Day” สร้างจิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง รวมพลัง “Big Cleaning Day” สร้างจิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล โดยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา กว่า 1,000 คน ร่วมกันเก็บขยะภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ตลอดจนหาดราชมงคลตรัง และหาดวิวาห์ใต้สมุทร และนำมาแยกประเภท ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล แก้ว กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก กระป๋องอะลูมิเนียม ขยะรีไซเคิลอื่นๆ ขยะอันตราย ขยะทั่วไป ถุงพลาสติกหูหิ้ว แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง โฟม (กล่องบรรจุอาหาร,เศษโฟม) ขยะที่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ และนำมาชั่งได้ทั้งหมด 264.7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ มีมาตรการในการร่วมกันดูแลเรื่องขยะมาอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลศรีวิชัย ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงในการจัดกิจกรรมขับเคลื่อนการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลให้เกิดรูปธรรม โดยพื้นที่ตรังซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ได้จัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาขยะทะเล เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล รวมทั้งการป้องกันการเกิดขยะทะเล ดังกล่าว.มหาวิทยาลัย ตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาขยะทะเล จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมที่นำไปสู่การลดปัญหาขยะทะเลให้หมดไป โดยมีการดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมลดการใช้ถุงพลาสติก จากการที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเร่งรัดการพัฒนาเศรฐษกิจของประเทศที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโมเดลเศรฐษกิจใหม่ที่เรียกว่า BCG ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้มีการกำหนดกรอบการบริหารจัดการขยะพลาสติกในภาพรวมของประเทศ โดยกำหนด Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ปี พ.ศ. 2561 – 2573 เพื่อยกเลิกใช้ขยะพลาสติก 4 ประเภท คือ พลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก และแก้วพลาสติก และเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการลดปริมาณขยะประเภทพลาสติก ในการตอบสนองการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยประกาศนโยบายสนับสนุนการพัฒนาที่ยังยืนตามหลักการ BCG ด้วยการงดใช้ถุงพลาสติก โดยในกิจกรรมที่จะดำเนินการนี้จะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหารภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง รวมถึงพัฒนาชุมชนนำร่อง
คือ ชุมชนหาดปากเมง ให้มีการใช้ถุงหูหิ้ว กล่องข้าว และแก้วน้ำแบบย่อยสลายได้ กิจกรรมที่ 2 การแปรรูปขยะ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างจิตสำนึก เพื่อการจัดการขยะ ชุมชนชายหาดปากเมง หมู่ที่ 4 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม “Don’t Suck Life from the Ocean” และกิจกรรมที่ 5 RUTS Trang ลดปริมาณขยะ ความสวยงามของทะเลไทยขึ้นชื่อติดอันดับโลก แต่ในขณะเดียวกันประเทศของเราก็ติดอันดับที่ 6 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก มากถึง 1 ล้านตันต่อปี ขยะที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากแหล่งท่องเที่ยว เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว โฟม เป็นต้น ถัดมาคือขยะจากการทำการประมง เช่น อวน เชือก เป็นต้น ยังไม่รวมขยะอื่นๆ ที่พบได้ในทะเล เช่น ถุงพลาสติก ฝาน้ำ และเศษบุหรี่ ไม่เฉพาะแค่การท่องเที่ยว แต่รวมไปถึงขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นจากบุคคล ครัวเรือน อุตสาหกรรม ขยะเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำต่างๆ จากลำคลอง สู่แม่น้ำ ท้ายที่สุดแล้วก็จะมีขยะส่วนหนึ่งลงสู่ท้องทะเล ปัญหาขยะล้นทะเลไทยเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่สะท้อนให้เห็นว่าบ้านเรายังขาดการจัดการขยะอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การส่งเสริมองค์ความรู้ในการจัดการขยะจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หลายคนขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะ ไม่เข้าใจวิธีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ขาดจิตสำนึกในการตระหนักถึงผลลัพธ์ของการทิ้งขยะไม่เป็นที่ การประชาสัมพันธ์ถึงวิธีการคัดแยกขยะ รวมถึงการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น เข้าใจง่าย เปิดหาดูได้ง่าย จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งยังสะดวก รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ลดการเพิ่มของขยะที่มาจากแผ่นป้าย
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง