สุพรรณบุรี รมช.ประภัตรเดินสายสร้างการรับรู้เกษตรกรนาแปลงใหญ่

สุพรรณบุรี รมช.ประภัตรเดินสายสร้างการรับรู้เกษตรกรนาแปลงใหญ่
รมช.เกษตรและสหกรณ์ เดินสายสร้างการรับรู้เกษตรกรนาแปลงใหญ่ พัฒนาระบบการผลิตข้าวตามมารฐานการรับรองแบบกลุ่มเพิ่มศักยภาพการแบ่งขันในตลาดพร้อมชูกลุ่มนาแปลงใหญ่ เดิมบางต้นแบบผ่านเกณฑ์รับรองแบบกลุ่มสร้างชุมชนเข้มแข็ง


จ.สุพรรณบุรี นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะเดินทางมาพบปะเกษตรกรผู้ทำนาแปลงใหญ่ในพื้นที่ อ.เดิมบางนางบวช เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรนาแปลงใหญ่ โดยมีนายภูสิต สมจิตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน ด้านนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่ากิจกรรมสร้างความเข้าใจการพัฒนาระบบการผลิตตามมาตรฐาน การรับรองแบบกลุ่มในพื้นที่นาแปลงใหญ่จังหวัดสุพรรณบุรี ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายส่งเสริมการเกษตรการทำนาแบบนาแปลงใหญ่ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิตจำหน่ายและบริหารจัดการร่วมกันทั้งในรูปแบบของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ตามความต้องการของตลาด การเชื่อมโยงตลาดและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล ของสินค้าเกษตรทั้งนี้นาแปลงใหญ่เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิตและบริหารจัดการผลิตข้าวมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มเกษตรกรให้แก่กลุ่มเกษตรกรให้มีความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อปรับเปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตข้าวแบบเดิม โดยผสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่การเพาะปลูกข้าวไปจนถึงการตลาดรวมทั้งการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐาน อาทิการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GoodAgricultural Practices: GAP)


รมช.เกษตรฯ กล่าวอีกว่ากระบวนการรับรองการผลิตข้าวแบบกลุ่มเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถขอการรับรองได้รวดเร็วขึ้น โดยกลุ่มเกษตรกรต้องมีระบบการผลิตและระบบควบคุมภายในกลุ่ม (nemal Contro! System)ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับรองว่ากิจกรรมการผลิตของเกษตรกรเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและเชื่อถือได้การมีระบบควบคุมภายในของกลุ่มเกษตรกรจะช่วยให้กลุ่มมีการบริหารงานเป็นระบบในลักษณะการประกันคุณภาพของกลุ่มให้ได้คุณภาพมาตรฐานการรับรองหรือคิว (Q) เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน
สำหรับนาแปลงใหญ่ตำบลเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบการผลิตตามมาตรฐานโดยใช้ระบบการรับรองแบบกลุ่มขอบข่ายข้าว GAP จำนวน 115 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม พื้นที่รวม 2,095 ไร่ปลูกข้าว กข 43 และปทุมธานี 1ตามมาตรฐาน GAP นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี นอกจากนี้ตนยังได้เปิดช่องทางค้าขายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มโดยการเปิดตลาดนัดออนไลน์ ในวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม นี้โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เรื่องการขายของทางออนไลน์และให้เกษตรกรนำสินค้าของตัวเองมาขายได้เลยจะได้รู้ว่าใครมีความสามารถขายอะไรได้บ้างมากน้อยแค่ไหน
ภัทรพล พรมพัก/ สุพรรณบุรี