อุบลราชธานี รมว.เกษตรฯ นำจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูและเกษตรกรผู้ประสบภัย จ.อุบลฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมทางไกลติดตามสถานการณ์อุทกภัย และ เปิดโครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูและเกษตรกรผู้ประสบภัย ที่ จ.อุบลราชธานี
ที่ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 7 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมทางไกล หรือ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับจังหวัดต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อติดตามสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ประสบภัย สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว อยู่ในช่วงเวลาการสำรวจ ฟื้นฟู เยียวยา ยกเว้น จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ที่ยังคงมีน้ำท่วมทุ่ง รอการระบาย โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำมูลถึงแม้จะลดลงเรื่อย ๆ แต่ขณะนี้ก็ยังคงสูงกว่าตลิ่งอยู่ 2.71 เมตร ซึ่งก็ทางกรมชลประทาน ก็ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ ที่ อ.พิบูลมังสาหาร และ อ.โขงเจียม แล้ว รวม 271 เครื่อง เพื่อช่วยเร่งการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง อย่างไรก็ตามก็ยังมีอุปสรรคเรื่องมีฝนตกหนักในพื้นที่ทุกวัน ทำให้การระบายน้ำและการลดระดับของน้ำลดลงช้ากว่าที่ควร (ปกติควรจะลด 25 ซม.ต่อวัน แต่ปัจจุบันลด 13 ซม.ต่อวัน) อย่างไรก็ตามคาดว่า การผลักดันน้ำและการระบายน้ำ จะทำให้น้ำลดลงสู่ภาวะปกติภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขอให้ทุกจังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายจากอุทกภัย เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย โดยเฉพาะเกษตรกร ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะให้ความช่วยเหลือทั้งเงินค่าชดเชยพื้นที่ทำการเกษตร การปศุสัตว์ ประมง รวมถึง การช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกรในการหื้นฟูอาชีพต่อมา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในกิจกรรมโครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย จ.อุบลราชธานี เพื่อให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการ ดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งวันนี้มีจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 8 กลุ่ม ได่แก่ กลุ่มสำรวจความเสียหาย เพื่อเร่งรัดการจ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง, กลุ่มหน่วยเคลื่อนที่ออกปฏิบัติการ เพื่อให้คำแนะนำการฟื้นฟู ดูแลด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาฟื้นฟูผลผลิตให้กลับสู่ภาวะปกติ, กลุ่มที่ 3 เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ทำการเกษตรและชุมชนลุ่มต่ำ, กลุ่มสนับสนุนปรับปรุงบำรุงดิน และดารบำบัดน้ำเสีย, กลุ่มสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช กล้าพันธุ์ผักและไม้ผล ชีวภัณฑ์ และ พันธุ์สัตว์ เพื่อผลิตเป็นอาหาร ลดรายจ่ายในครัวเรือน, กลุ่มปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อรักษาระบบนิเวศและเป็นแหล่งอาหารของชุมชน, กลุ่มช่วยเหลือ ซ่อมแซม เครื่องมือ เครื่องจัดรกลทางการเกษตร เช่นเครื่องสูบน้ำ เครื่องไถนาเดินตาม เพื่อให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพได้ตามปกติ และ กลุ่มสำรวจซ่อมสร้าง โครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทาน
ธนัชชัย จึงเจริญ รายงาน