กาญจนบุรี. ผบ.พล.9 ห่วงเศษไม้ลอยมาติดสะพานมอญสั่งรอง.ผบ.ฉก.ร.9 ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการป้องกันในระยะยาวหวั่นเหตุการณ์ซ้ำรอย

กาญจนบุรี.   ผบ.พล.9 ห่วงปัญหาเรื่องสวะและเศษกิ่งไม้ลอยมาติดสะพาน สั่งการให้ รอง.ผบ.ฉก.ร.9 (กองกำลังสุรสีห์) ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการป้องกันในระยะยาว ก่อนเหตุการณ์ซ้ำรอย 28 ก.ค.56


จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ อส. อุทยานแห่งชาติเขาแหลม จิตอาสาผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว และประชาชนชาวสังขละบุรีเข้าร่วมประชุมที่ห้องประชุมราชสีห์ ที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เข้าทำการเก็บขยะที่ลอยลงมาจากแม่น้ำซองกาเลีย บริเวณตอม่อสะพานไม้ หลังเกิดน้ำป่า เพื่อเป็นการเปิดทางน้ำ เร่งป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโครงสร้างของสะพาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูฝนของสังขละบุรี


พล.ตรี.ฐกัด หลอดศิริ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 กองกำลังสุรสีห์ จึงได้มอบหมายให้ พ.อ.ชูพงษ์ สายอุบล รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า เดินทางมาประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยมี นายสำรวย เมฆฉาย ปลัดอำเภอสังขละบุรี พ.ต.อ.เพทาย จันทรไพร ผกก.สภ.สังขละบุรี นางรัชนี จำปีขาว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านวังกะ เจ้าหน้าที่ ต.ช.ด.ที่ 134 เจ้าหน้าที่ เทศบาลตำบลวังกะ เจ้าหน้าที่จาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลูและตัวแทนเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม และจิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.เพื่อหามาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา เศษไม้และสวะจำนวนมากที่ไหลมาในแม่น้ำซองกาเลีย

จนมาติดอยู่ที่บริเวณตอม่อสะพานอุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ขวางลำน้ำในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูฝน เนื่องแม่น้ำซองกาเลียมีต้นกำเนิดอยู่ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน จะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงกันยายน และมีปริมาณน้ำในลำห้วยสูงและมีกระแสน้ำไหลแรง เนื่องจากมีลำห้วยสาขาจำนวนมากที่ไหลลงมารวมกันเป็นแม่น้ำซองกาเลียโดยในที่ประชุมได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาทั้งสิ้น 3แนวทางดังต่อไปนี้


1.มีการเสนอแนวทางการวางทุ่นเหล็กลักษณะเดียวกับทุ่นที่ใช้สร้างบ้านแพ ขวางลำน้ำซองกาเลีย บริเวณเหนือสะพานปูนขึ้นไปประมาณ 900เมตร เพื่อดักเศษไม้ ท่อนไม้และสวะ ก่อนถึงตัวสะพาน โดยแนวทางนี้ต้องใชัทุ่น เหล็ก4-5 ทุ่น ราคาทุ่นละประมาณ1แสนบาท และต้องมีการออกแบบการวางทุ่นนี้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากใช้มาตรการนี้
2.เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บสวะแลเศษกิ่งไม้ที่ลอยมาติดสะพาน

 

โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวประกอบส่วนราชการและประชาชน โดยมีอำนาจจัดการแก้ไข พร้อมมีบุคคลากรและมีงบประมาณดำเนินงานให้ปีต่อปี..ทั้งนี้ปัญหาสวะและเศษกิ่งไม้ที่ลอยมาติดสะพานไม่ได้เกิดขึ้นทั้งปี จะเกิดขึ้นในช่วงที่เกิดน้ำป่า ช่วงกลางเดือน ก.ค.-ส.ค.เท่านั้น ปัญหาที่ผ่านมาพบว่า ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งไม่มีงบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินการ ที่ผ่านมาอาศัยจิตอาสา ที่มาจากส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้การจัดเก็บสวะ ซึ่งหากลอยงาติดจำนวนมากต้องใช้เวลา ต้องใช้แรงงาน รวมทั้งเรือจำนวนมากเข้ามาช่วยกำจัด ที่ผ่านมาทางวัดได้เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องค่าอาหาร ค่าน้ำดื่มรวมทั้งค่าน้ำมันเรือทีมาใช้ในการทำงาน


3.ระหว่างรอมาตรการแก้ไข หากเกิดปัญหาจะใช้วิธีแก้ไขเฉพาะหน้า โดยการขอความร่วมมือจากส่วนราชการในพื้นที่ จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.ประชาชน เหมือนที่ผ่านมา
4.ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนอาจมีการขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ป่าไม้ อช.เขาแหลม เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านทิศตะวันตก และชาวบ้านในที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโรคี่และซองกาเลีย กำจัดเศษกิ่งไม้ไผ่และไม้ที่อยู่ริมน้ำ ซึ่งอาจโดนน้ำป่าพัดลงมา เพื่อเป็นการป้องกันอีกทาง


ต่อจากนั้นทั้งหมดจึงได้เดินทางลงดูพื้นที่จุดการวางแนวทุ่น และลงเรือสำรวจพื้นที่โดยเริ่มจากสะพานไม้ขึ้นไปยังสะพานปูนจนไปถึงเวิ้งน้ำด้านหลัง กองร้อย ต.ช.ด.134 จุดที่จะวางทุ่นเหล็ก ที่เลือกจุดนี้เนื่องน้ำร่องน้ำมีความแคบ โดยกว้างประมาณ25เมตร น้ำบริเวณนี้ลึกไม่มากและมักเป็นจุด(เวิ้งน้ำ)ที่ขยะจะไหลลงมารวมตัวกันก่อนจะไหลลงสู่สะพาน ซึ่งในช่วงลงพื้นที่ พบสวะจำนวนหนึ่งอยู่ในบริเวณนี้
โดย พ.อ.ชูพงษ์ สายอุบล. เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า จะนำมติและข้อเสนอในที่ประชุม นำเสนอต่อ ผบ.พล.ร9 เพื่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกิดต่อไป ซึ่งเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2556 น้ำป่าจากลำน้ำซองกาเลียได้พัดเศษไม้ไผ่และท่อนซุงลอยลงมาติดสะพานจนส่งผลทำให้สะพานขาด ได้รับความเสียหายมาแล้วครั้งหนึ่ง
เกษร เสมจันทร์