สุพรรณบุรี เปิดศูนย์โรคหัวใจรพ.เจ้าพระยายมราชเพิ่มศักยภาพในการตรวจรักษาโรคหัวใจ
ที่โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 5 นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี นพ.สาโรจน์ มะรุมดี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี นพ.พงษ์นรินทร์ ชาติรังสรรค์ ผอ.รพ.ศูนย์เจ้าพระยายมราช พญ.นวลจันทร์ ตันติชุตินันท์ แพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด และบริการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด นพ.พีรพัฒน์ คงมาลัย ศัลยแพทย์หัวใจ พร้อมคณะผู้บริหาร และผู้มีเกียรติในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกันเปิดศูนย์โรคหัวใจ ณ ศูนย์โรคหัวใจ อาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์วินิจฉัยรักษาผ่าตัดโรงหัวใจ
ซึ่งศูนย์โรคหัวใจเดิมสามารถให้บริการตรวจหัวใจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนความถี่สูง เครื่องตรวจสมรรถภาพ การทำงานของหัวใจ เครื่องติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันนี้สามารถเปิดให้บริการสวนหัวใจ ขยายเส้น เลือดหัวใจตีบตันด้วยบอลลูนใส่ขดลวดค้ำยัน โดยนายบรรหาร ศิลปอาชา ได้รับการจัดสรรงบจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์วินิจฉัยรักษาผ่าตัดโรคหัวใจ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ จำนวน 377 ล้านบาท แต่ก็ยังขาดครุภัณฑ์การแพทย์ เพื่อให้บริการด้านการตรวจรักษาด้วยวิธีสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจได้ จะต้องใช้เงินอีกกว่า 120 ล้านบาท
ต่อมาได้รับบริจาคเงินจากโครงการก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยนายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้สแลมและทีมงานบริจาค จำนวน 91 ล้านบาท และยังได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องชาวจังหวัดสุพรรณบุรี จากโครงการก้าวต่อไปเพื่อหัวใจคนสุพรรณ อีกกว่า 40 ล้านบาท เงินบริจาคทั้งหมดได้นำมาจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ สำหรับศูนย์โรหัวใจ โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนชาวสุพรรณและเขตจังหวัดใกล้เคียง การเปิดศูนย์โรคหัวใจ แห่งใหม่ที่มีศักยภาพที่ดีทำให้ชาวสุพรรณบุรี ได้เข้าถึงบริการได้สะดวก ลดระยะเวลารอคอยการรักษาและยังเป็นประโยชน์
โดยการเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายใหม่ให้กับประชาชนจังหวัดใกล้เคียงที่ยังขาดความพร้อมในการดูแลโรคหัวใจที่ขับซ้อน เพื่อมุ่งหมายลดความแออัดลดระยะเวลารอคอย เพิ่มการเข้าถึงการบริการศูนย์ความเชี่ยวชาญ ระดับสูง (EXCELLENCE CARDIAC CENTER) รักษาใกล้บ้านลดอัตราตายลดภาวะแทรกซ้อนได้ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน โดยยังมีข้อจำกัดด้านสถานที่และบุคลากรตลอดจนขาดอุปกรณ์การแพทย์ สำหรับโรคซับซ้อนที่มีราคาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการตรวจรักษาด้วยวิธีสวนหัวใจและผ่าตัดหัวใจ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องสวนหรือ ผ่าตัดหัวใจมีจำนวนมากขึ้น
ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องส่งต่อไปรักษากับโรพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า ทั้งในเขตสุขภาพที่ 5 และกรุงเทพมหานคร เช่นโรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลราชบุรีและโรงพยาบาลศิริราช เป็นตัน ด้วยผู้ป่วยที่มีจำนวนมากและการรองรับของโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพ มีขีดจำกัดลดระยะเวลารอคอย การรักษานานนับเตือน จนผู้ป่วยบางรายต้องเสียโอกาสและเกิดการสูญเสีย นอกจากนี้ยังมีหออภิบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ (CCU) ซึ่งเป็นทีมพยาบาลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรการพยาบาลโรคหัวใจมาโดยเฉพาะอีกด้วย
ภัทรพล พรมพัก/สุพรรณบุรี