ผู้บริหารระดับสูงมาศึกษาดูงานมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อต่อยอดพัฒนาหน่วยงานอื่น
3 สิงหาคม 2562 เวลา 1130 น.
คณะอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดินสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางมาทำการศึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยมี ดอกเตอร์ นางสาว อนุตรา วรรณวิโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมคณะได้ให้การต้อนรับและบรรยายในการพัฒนาของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งมุ่งหน้าสู่พืชปลอดสารพิษ ใช้สารอินทรีย์ 100 % ให้ความรู้กับประชาชน เยาวชน นักเรียน ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมุ่งพัฒนาต่อยอดสู่สังคมประชาชนเกษตรกร จัดจำหน่ายพืชผักปลอดสารพิษสู่ท้องตลาดทั่วไป และแปรรูปผลิตภัณฑ์ของโครงการ เพื่อจำหน่ายสำหรับผู้รักสุขภาพและทั่วไป ในชื่อของผลิตภัณฑ์ “ทรัพย์ – ปัน “ (Sappan) ซึ่งเป็นชื่อที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อนี้พร้อมตราสัญญาลักษณ์ ทางการนำคณะซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำกลุ่มคณะอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดินสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้ารับฟังบรรยายในการปฏิบัติการของมูลนิธิ และเดินศึกษาแปลงงานจริงในพื้นที่60 ไร่ ที่ทางโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนาได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำองค์ความรู้สู่เกษตรกรและประชาชน ทาง รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ทวีวงศ์ ศรีบุรี ได้กล่าวว่าในการศึกษาดูงานแนวพระราชดำริฯเพื่อต้องการศึกษาการพัฒนา และปัญหาต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดให้กับหน่วยงานอื่นๆและร่วมในการต่อยอดพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพราะคณะที่มานั้นมีหลายหน่วยงานที่เป็นระดับคณะอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดินสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่น่าจะนำไปต่อยอดเรียนรู้ให้กับบุคลากรของหน่วยงาน ซึ่งที่เข้ามารับทราบและเห็นมีการผลิตข้าว พืชหลังนา เห็ดต่างๆ พืชผัก สมุนไพร และไม้ผลที่มีคุณภาพ ซึ่งสะอาดปลอดภัยจากสารเคมี และยังได้รับรองคุณภาพมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช GAP แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ได้รับมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการผลิตอาหารที่ดี GMP ยกระดับความปลอดภัยมาตรฐานกับผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปเพื่อสู่ผู้บริโภค ทาง ดอกเตอร์ นางสาว อนุตรา วรรณวิโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวถึงเกษตรกร เยาวชน นักเรียน ผู้ที่ต้องการพัฒนาทางการเกษตรสามารถที่จะเข้ามารับการศึกษาและดูงานได้ทางมูลนิธิชัยพัฒนา ยินดีที่จะให้ความรู้การผลิต ซึ่งได้ผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปเพื่อสู่ผู้บริโภค ที่ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และที่สำคัญป่าไม้ทางมูลนิธิได้รณรงค์ปลูกป่าเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำคลองและคู่กับวิถีชีวิตชุมชน
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
นายสำราญ แสงสงค์ ข่าว