คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ (MOU) กับวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ (MOU) กับวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชียพัฒนาบุคลากรและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกัน

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2562 ที่ มทร.รัตนโกสินทร์ พื้นที่ศาลายา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตรการอบรมระยะสั้น พัฒนาบุคลากรและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ด้านพานิชย์นาวีขนส่งทางน้ำ และโลจิสติกส์ไทย โดย มทร.รัตนโกสินทร์ มี ผศ.ศิวะ วสุนธราภิวัฒก์ อธิการบดี เป็นผู้ลงนามร่วมกับ นายณรงค์ศักดิ์ ผาสุก ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย ณ ห้องประชุมไอยราชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์

ผศ.ศิวะ วสุนทราภิวัฒก์ อธิการบดี กล่าวถึงที่มาและความสำคัญในการทำ mou ในครั้งนี้ว่าตามที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รับงบประมาณยุทธศาสตร์ โครงการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรด้านระบบขนส่งทางน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ในเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันด้านระบบขนส่งทางน้ำในโลกยุคดิจิทัลให้มีมาตรฐาน เพื่อรองรับนโยบาย Thailand 4.0 และสอดคล้องเชื่อมโยงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ คือ “มุ่งผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีคุณธรรม ทำงานเป็นสู่สังคมการประกอบการ” โดยการดำเนินการจัดโครงการดังกล่าวนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเกียรติจากวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย จังหวัดชลบุรี เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ และอำนวยความสะดวกสถานที่สำหรับจัดฝึกอบรมและปฏิบัติให้กับโครงการ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องและเชื่อมโยงกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ คือ “มุ่งผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีคุณธรรม ทำงานเป็นสู่สังคมการประกอบการ”

ดังนั้น เพื่อให้มีแนวทางความร่วมมือและการร่วมดำเนินการที่ชัดเจนบนฐานความประสงค์ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายสู่ความร่วมมือทางวิชาการ จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน ระหว่าง  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเซีย จังหวัดชลบุรี ขึ้น  โดยมีกิจกรรมความร่วมมือดังนี้

2.1     ด้านการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทางด้านพาณิชย์นาวี ขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ไทยร่วมกัน

2.2     ด้านการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ทางด้านพาณิชย์นาวี ขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ไทยร่วมกัน

2.3     ด้านการสร้างความร่วมมือทางด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพาณิชย์นาวี ขนส่งทางน้ำและ          โลจิสติกส์ไทย

2.4     ด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทางด้านพาณิชย์นาวี ขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ไทย

2.5 ด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาและยกระดับด้านพาณิชย์นาวี ขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ไทย

2.6    ความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร

จุดแข็งและความน่าสนใจ

เป็นหลักสูตรภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 2 สถาบัน ที่ได้การรับรองมาตรฐานจากกรม  เจ้าท่าและสำนักงานการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยผู้ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรดังกล่าว จะได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศบ.) สาขาวิชาวิศวกรรม    โลจิสติกส์และระบบขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังมีการพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรด้านระบบขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรด้านระบบขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอด ด้านการศึกษาให้กับนักศึกษาและศิษย์เก่า ที่มีความสนใจ สามารถเข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะความรู้ให้กับตนเอง ซึ่งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร จะได้รับใบประกาศนียบัตร เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติงานบนเรือได้ เป็นการเพิ่มโอกาสและสร้างรายได้ที่สูงขึ้นในวิชาชีพของตนเอง ซึ่งตอบโจทย์และตรงตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ คือ “มุ่งผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีคุณธรรม ทำงานเป็นสู่สังคมการประกอบการ”