อุบลราชธานี เทียนพรรษา วัดมหาวนาราม คชสิงห์ปักษา นำพระเนมิราชชาดก ท่องสวรรค์
ต้นเทียนพรรษา วัดมหาวนาราม รวมพลังจิตอาสา จิตวิญญาณ ถวาย
เป็นพุทธบูชาสืบทอดประเพณีอันดีงานของจังหวัดอุบลราชธานี
ชุมชนคนทำเทียน วัดมหาวนาราม (พระอารามหลวง) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บรรยากาศการทำเทียน 118 ปี ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เทอดราชาขวัญแผ่นดิน” เต็มไปด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของ นักเรียน นักศึกษา วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ร่วมทั้งพระภิกษุ ต่างกำลังช่วยกัน ตัดลายพิมพ์เทียน บ้างก็ติดเทียนที่ตัดลายเสร็จแล้ว บนต้นเทียง อย่างตั้งอกตั้งใจ
นายแก้ว อาจหาญ นายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการทำต้นเทียนของคุ้มวัดมหาวนาราม แห่งนี้ ได้เผยว่า ตั้งแต่ทางวัดได้เริ่มทำต้นเทียน และ จัดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดลายพิมพ์เทียน ก็ได้มีผู้ที่สนใจทั้งชาวอุบลฯ นักท่องเที่ยว ต่างได้เข้ามาช่วยกันทำเทียนอย่างต่อเนื่อง นับเป็นภาพที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่งในการมีใจเป็นจิตอาสา มีส่วนร่วม มีจิตวิญญาณ ถวายเป็นพุทธบูชา ส่งเสริมสืบทอดประเพณีอันดีงานของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีมาแต่ครั้งอดีต
สำหรับ ต้นเทียนพรรษา ของวัดมหาวนาราม ในปี 2562 นี้ มีพระครูสารกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม เป็นผู้อำนวยการในการสร้าง เป็นต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ขนาดกลาง ความยาวของรถต้นเทียน 8 เมตร ส่วนหน้าได้จัดทำเป็น คชสิงห์ปักษา ซึ่งเป็นสัตว์หิมพานต์ในจิตนาการที่มีความแข็งแรงรูปร่างสวยงาม นำขบวน ถัดมาตอนกลางของต้นเทียน ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ พระเนมิราชชาดก ท่องสวรรค์ ซึ่งลำต้นเทียนวัดจากล้อถึงปลายของยอดต้นเทียน มีความสูง 5 เมตร โดย ใช้ลายก้านขด กระจังรวน เทพพนม และ ภูระย้า เป็นลายหลักในส่วนนี้ และ ส่วนท้าย จะเป็นเรื่องราวของพระนางผุสดีขอพรพระอินทร์ก่อนที่จะลงมาจุติบนโลกมนุษย์ นอกจากลายที่ได้กล่าวมาแล้วยังมี ลายช่อต่อเปลว ผีเสื้อ ประจำยามก้ามปู ประจำยามก้านแยง ฟันปลา นาคคาบ เกลียวกนก กินรี กรวยเชิง และ กาบบัว บนต้นเทียนพรรษาต้นนี้อีกด้วย
จังหวัดอุบลราชธานี จะจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา อุบลราชธานี ประจำปี 2562 ภายใต้ชื่องาน 118 ปี เทียนพรรษา เทิดราชาขวัญแผ่นดิน (Ubon Ratchathani Candle Festival 2019) โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-17 กรกฎาคม 2562 ณ บริเวณสนามทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดย ไฮไลน์ จะอยู่ที่ ช่วนเย็นวันที่ 16 ขบวนเทียนจากคุ้มวัดต่างๆ จะเคลื่อนขบวนมารวมตัวกัน จัดแสดงต้นเทียนไว้ตามจุดต่างๆ ในบริเวณรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับความปราณีตงดงาม ของการแกะสลักเทียนพรรษาที่สวยสดงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอุบลฯ กลางคืนจะมีการแสดง แสง-สี-เสียง ประเพณี วัฒนธรรมของชาวอีสาน พร้อมทั้งโชว์ต้นเทียนพรรษา และช่วงเช้า วันที่ 17 จะมีพิธีเปิดงาน และ ปล่อยขบวนแห่เทียนพรรษา ร่วม 50 ขบวน พร้อมทั้ง การแสดงประกอบต้นเทียน ขบวนฟ้อนรำ แสดงวิถีชีวิตคนอุบล ศิลปะ วัฒนธรรม ของ นักแสดง นางรำ หลายหมื่นคน ช่วงเย็น ก็จะเป็นการประกาศผลรางวัลของต้นเทียนประเภทต่างๆ ปิดท้ายด้วยการแสดงแสง-สี-เสียง ประกอบต้นเทียนที่ได้รับรางวัล ซึ่งจะเป็นบรรยากาศ ภาพที่สวยงาม วิจิตตระการตา สุด