ปทุมธานี. ผู้ว่าฯนำข้าราชการประชาชนลงนามแสดงความอาลัยแด่ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
วันนี้(30 พฤษภาคม2562) เวลา10.00 น. ที่บริเวณห้องโถงชั้น1 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานีดร.พินิจบุญเลิศผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีนำหัวหน้าส่วนราชการข้าราชการพนักงานในพื้นที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานีและประชาชนทั่วไปร่วมประกอบพิธีลงนามแสดงความอาลัยแด่พลเอกเปรมติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่26 พฤษภาคม2562
ทั้งนี้จังหวัดปทุมธานีได้จัดตั้งโต๊ะสำหรับลงนามแสดงความอาลัยเพื่อให้บุคลากรทุกภาคส่วนและประชาชนทั่วไปที่มาติดต่อราชการสามารถลงนามแสดงความอาลัยได้ที่บริเวณทางขึ้นหน้าห้องโถงชั้น1 ศาลาศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันนี้30 พฤษภาคม2562 ถึงวันที่2 มิถุนายน2562 ในเวลา09.00 น.- 16.00 น. แต่งกายด้วยชุดสุภาพสีดำหรือสีขาว
พลเอกเปรมติณสูลานนท์เกิดเมื่อวันที่26 สิงหาคม2463 ที่ตำบลบ่อยางอำเภอเมืองจังหวัดสงขลาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อปี2484 โรงเรียนทหารม้าและอีกหลายสถาบันรวมทั้งวิทยาลัยการทัพบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่9 จากนั้นได้เข้ารับราชการทหารและร่วมรบในสงครามอินโดจีนรวมทั้งสงครามโลกครั้งที่สองพลเอกเปรม ติณสูลานนท์เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่2 ผู้บัญชาการทหารบกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่16 ของไทยและดำรงตำแหน่ง3 วาระระหว่างปี2523 – 2531 โดยหลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่23 สิงหาคม2531 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรีเมื่อวันที่4 กันยายน2541
พลเอกเปรมติณสูลานนท์ ได้รับยกย่องว่ามีผลงานสำคัญในการผลักดันนโยบาย“การเมืองนำการทหาร” ซึ่งนำไปสู่การออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่66/2523 กำหนดนโยบายและปรับท่าทีในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์โดยมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้แปรพักตร์ทำให้นักศึกษาที่หลบหนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์6 ต.ค.2519 กลับออกจากป่า เป็นการนำการเมืองเหนือการทหารยุติความรุนแรงต่อการปราบปรามคอมมิวนิสต์และเปลี่ยนบุคคลเหล่านั้นเรียกว่า“ผู้ร่วมพัฒนาชาติ” ท่ามกลางสงครามเย็นกระแสโลกเสรีปะทะกับแนวคิดคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้นแนวนโยบายดังกล่าวส่งผลให้เกิดความปรองดองขึ้นได้ประเทศไทยและสถานการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลงไปได้ด้วยดี
นอกจากนี้พลเอกเปรมติณสูลานนท์ยังมีผลงานสำคัญซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอีกเช่นการปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้าการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน(กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ “ข้อตกลงพลาซ่าแอคคอร์ดทำให้พลิกโฉมหน้าเศรษฐกิจไทยจนถึงปัจจุบันจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าสู่การผลิตเพื่อส่งออกรองรับกับการย้ายฐานการผลิตและการลงทุนจากต่างชาติ(โดยเฉพาะญี่ปุ่น) เพิ่มอัตราการจ้างของคนไทยในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมหาศาล”