สถานทูตอิหร่านจัดงานวันชาติ เฉลิมฉลองสัมพันธ์การทูต 70 ปี ไทย-อิหร่าน

เฉลิมฉลองสัมพันธ์การทูต 70 ปี ไทย-อิหร่าน

สถานทูตอิหร่านจัดงานวันชาติและชัยชนะในการปฏิวัติอิสลามปีที่ 46 พร้อมร่วมเฉลิมฉลองสัมพันธภาพกับประเทศไทยที่ยาวนานกว่า 400 ปี ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568

อิหร่าน ซึ่งในอดีตรู้จักกันในนาม “เปอร์เซีย” เป็นอู่แห่งอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันปี มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และปรัชญา หลายสิ่งที่ได้มีส่วนช่วยในการกำหนดประวัติศาสตร์มนุษย์ และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอารยธรรมโลก

การศึกษาอารยธรรมอิหร่านโบราณเผยให้เห็นว่า ชาวอิหร่านส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง ความยุติธรรม การสนทนา การเคารพซึ่งกันและกัน และความเข้าใจ พวกเขาชอบความอดทนแทนการครอบงำ หลักพหุภาคีแทนการกระทำฝ่ายเดียวและสองมาตรฐาน ทัศนคติที่ชาญฉลาดแทนความเขลา สร้างความเชื่อมั่นมากกว่าความหน้าไหว้หลังหลอกและการสมคบคิด ซึ่งเป็นเสาหลักความสัมพันธ์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ  ในปัจจุบัน มนุษยชาติทั่วโลกกำลังประสบกับความอยุติธรรม ความยากจน การแบ่งแยกเชื้อชาติและเหยียดสีผิว การก่อการร้าย และการเลือกปฏิบัติในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ท่ามกลางความยากลำบากและอุปสรรค อิหร่านกำลังก้าวไปข้างหน้าสู่การพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน   แม้จะเผชิญกับการคว่ำบาตรที่โหดร้าย อิหร่านยังคงเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำในหลายสาขาของวิทยาศาสตร์ รวมถึง นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตดาวเทียม เซลล์ต้นกำเนิดการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ การผลิตเหล็ก เคมี ยา และอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ความสำเร็จเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับแรงผลักดันจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถของเรา ผ่านนวัตกรรมจากบริษัทที่ขับเคลื่อนโดยความรู้และสตาร์ทอัพต่างๆ
อิหร่านและไทยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและใกล้ชิดมาตั้งแต่ 400 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เมื่อ 420 ปีก่อน นักวิชาการศาสนาและพ่อค้าวาณิชจากเปอร์เซียได้ย้ายเข้ามายังสยาม ซึ่งได้เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ศาสนา และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของสองอารยธรรมโบราณ การเดินทางและชีวิตของนักวิชาการศาสนาและพ่อค้าวาณิชเปอร์เซียผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งทางการเมืองและศาสนาที่สำคัญที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าประทับใจที่สะท้อนถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเปอร์เซียและอิสลามในประเทศไทย ในปีนี้ ทั้งสองประเทศมุ่งเพิ่มความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ผ่านการขยายการท่องเที่ยว ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวชาวอิหร่าน ในปี 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวอิหร่านกว่า 50,000 คนที่เดินทางมาประเทศไทย และมีความตั้งใจที่จะขยายความร่วมมือทวิภาคีในด้านวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยว

สำหรับความร่วมมือของกลุ่มประเทศโลกใต้ เมื่อปีที่แล้ว ในการประชุมกรอบการสนทนาความร่วมมือในเอเชีย หรือ ACD ครั้งที่ 3 ประธานาธิบดีเพเซชกิยอน์ แห่งอิหร่าน ได้พบกับนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ของประเทศไทย ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ทวิภาคีและการเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอิหร่านและไทย
รัฐบาลของอิหร่านและไทยมุ่งหวังที่จะได้เห็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่เจริญรุ่งเรืองในทุกมิติ โดยในบางภาคส่วนได้มีการพัฒนาเกิดขึ้นแล้ว และยังมีศักยภาพมหาศาลที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ

ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการจัดนิทรรศการทางวัฒนธรรม การสัมมนาเชิงวิชาการ เทศกาลภาพยนตร์ ความสัมพันธ์ทางวิชาการและสื่อ รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอิหร่านและไทยในปี 2568.