กาญจนบุรี  ปล่อยมวนพิฆาต สู้หนอนกระทู้หอม ทำลายกัดกินมันสัมปะหลังกว่า7,0000 ไร่

กาญจนบุรี  ปล่อยมวนพิฆาต สู้หนอนกระทู้หอม ทำลายกัดกินมันสัมปะหลังกว่า 7,0000 ไร
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 จากกรณีที่เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง หลายอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย อำเภอพนมทวน อำเภอห้วยกระเจา อำเภอเลาขวัญ อำเภอด่านมะขามเตี้ยได้รับความเดือดร้อนจากหนอนกระทู้หอม กัดกินต้นมันสำปะหลังเสียหายไปแล้ว7,798 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 659 ราย
ต่อมานายวีระศักดิ์ สุขทอง หัวหน้าสำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี ได้จัด กิจกรรมจิตอาสากำจัดหนอนกระทู้ในไร่มันสำปะหลัง ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร จิตอาสา 904 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่2จังหวัดราชบุรี (สสก.2 รบ). สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรีสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ ยกเว้นสังขละบุรี ทองผาภูมิ และศรีสวัสดิ์ และเกษตรกร ลงพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรีร่วมกันจับหนอนกระทู้หอมกัดกินต้นมันสำปะหลัง โดยแต่ละคนจับหนอนกระทู้ใส่ถุงและมอบให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่2จังหวัดราชบุรี (สสก.2 รบ) เพื่อเป็นการทำลายวงจรหนอนกระทู้ในเบื้องต้น จากนั้นสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 2 จังหวัดราชบุรี (สสก.2 รบ) นำไปเพราะเชื่อเพื่อนำมาใช้ประในการกำจัดหนอนกระทู้หอมทีมากัดกินทำลายไร่มันสัมปะหลังในระยะยาว ต่อไป


วันนี้ 18 มิถุนายน นายทวิช เที่ยวมาพบสุข นายอำเภอพนมทวน พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่2จังหวัดราชบุรี (สสก.2 รบ). ลงพื้นที่หมู่ที่ 4 ตำบลดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี นำมวนพิฆาต มาปล่อยในไร่มันสำปะหลังที่ถูกหนอนกระทู้หอม ทำลายกัดกินกว่า 7,0000 ไร่มวนพิฆาต แมลงตัวห้ำ ที่มีประโยชน์ในการช่วยกำจัดหนอนของแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแก้วส้ม และหนอนบุ้งต่าง ๆ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวนจะเข้าทำลายเหยื่อ โดยการใช้ปากที่เป็นแท่งยาวแหลมคม เจาะเข้าไปทำให้หนอนเป็นอัมพาต ขยับตัวไม่ได้จากนั้นจะดูดกินของเหลวภายในตัวหนอนจนตัวแห้งเหี่ยวตาย มวนตัวห้ำชนิดนี้จะดูดกินหนอนเป็นอาหารเท่านั้น ซึ่งจะไม่ทำลายพืช จึงเป็นแมลงธรรมชาติ ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช


สำหรับวงจรชีวิตของมวนเพชฌฆาต จะมีอยู่ 3 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัย ซึ่งสามารถนำมวนเพชฌฆาต ตั้งแต่วัยที่ 2 ถึงตัวเต็มวัย ไปปล่อยในแปลงเกษตรดังกล่าวได้ในอัตรา 500 ตัวต่อไร่
จากนั้นได้มอบ เชื้อไวรัส เอ็น พี วี ให้กับเกษตรกร เพื่อนำไปกำจัดหนอนกระทู้หอม ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมศัตรูพืช มีความเจาะจงต่อชนิดของแมลงศัตรู พืชสูงมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมายที่เราไม่ต้องการทำลาย แมลงเป้าหมายไม่สามารถต้านเชื้อไวรัสเอ็น พี วี ได้ นอกจากนั้นยังไม่มีพิษตกค้างบนผลผลิตพืช และยังเป็นการช่วยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติและแมลงช่วยผสมเกษร ในปัจจุบันประเทศไทยมีเชื้อไวรัส เอ็น พี วี ที่ใช้ในการควบคุมศัตรูพืช 4 ชนิด ได้แก่ เอ็น พี วี หนอนกระทู้หอมเอ็น พี วี หนอนกระทู้ผัก , เอ็น พี วี หนอนเจาะสมอฝ้าย และ เอ็น พี วี หนอนคืบกะหล่ำปลี โดยมีวิธีการใช้เหมือนกับการใช้สารเคมี คือใช้ฉีดพ่นพร้อมกับสารเคมีก็ได้นอกจากนั้นเกษตรกรยังสามารถผลิตขยายเชื้อไวรัส เอ็น พี วี ไว้ใช้ควบคุมศัตรูพืชได้เองอีกด้วย
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี