กาญจนบุรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกิจกรรมวัน อสม .แห่งชาติ เปิดโครงการประชุมวิชาการเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนปี 2567 อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน
วันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่หอประชุมโรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
นพ.กฤษดา วุธยากร รองนายแพทย์สาธารณสุขอำเภอสังขละบุรี พร้อมด้วยนายสมบูรณ์ แผนสมบูรณ์ นายอำเภอสังขละบุรี นายรังสิมันตุ์ ทองสวัสดิ์ สาธารณสุขอำเภอสังขละบุรี เดินทางมาร่วมงานวัน อสม.แห่งชาติ โครงการประชุมวิชาการเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน ปี 2567 อำเภอสังขละบุรี
ทั้งนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 ได้อนุมัติให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและให้กำลังใจแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ อสม.ทั่วประเทศเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคเชิงรุกอย่างเป็นระบบ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายพัฒนาระบบแพทย์ปฐมภูมิด้วยการส่งเสริมบทบาท อสม.(Smart อสม.) เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติงาน และรายงานผลการปฎิบัติงานในกิจกรรมดังต่อไปนี้1.อสม.ประเมินสุขภาพตัวเองเบื้องต้น
2.อสม.ติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน 3.อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมกรอำนวยการจัดงานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ”อสม.ทั่วไทย ร่วมใจให้บริการด้านปฐมภูมิ ทุกกลุ่มวัย.”
โดยในปีนี้ อำเภอสังขละบุรีได้จัดงานวัน อสม.แห่ชาติ และได้จัดงานโครงการการประชุมวิชาการเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน ปี พ.ศ.2567 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดบริการด้านสุขภาพพื้นฐานแก่ประชาชน 2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ อสม.และเครือข่ายในระบบสุขภาพปฐมภูมิ 3 เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฎิบัติงาน แก่ องค์กร อสม. เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชน
นอกจากนั้นในกิจกรรมวันนี้ยังได้มีพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับ อสม.ดีเด่นประจำปี2567 จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย นางรุ่งนภา สายสุนา อสม.ดีเด่นอำเภอสังขละบุรี ประจำปี 2567 สาขา การบริการสุขภาพใน ศสมช. นางเบญจมาศ วุฒิพิมลวิทยา อสม.ดีเด่นอำเภอสังขละบุรี ประจำปี 2567 สาขา การส่งเสริมสุขภาพ และนางชมพูนุช สุดโต อสม.ดีเด่นอำเภอสังขละบุรี ประจำปี 2567 สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
นางเบญจมาศ วุฒิพิมลวิทยา 1 ในผู้ได้รับรางวัล อสม ดีเด่น ปี 2567 เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าปัจจุบันอายุ 60 ปีแล้ว เข้ามาเป็น อสม.ตั้งแต่ปี 2546 รวมแล้วทำงานมา 21 ปี โดยได้นำความรู้ความสามารถที่ผ่านการอบรม การฝึกฝนจากคุณหมอ ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆมาพัฒนาตนเองในการดูแลสุขภาพของพี่น้องในชุมชน รวมทั้งดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว เพราะถ้า อสม มีสุขภาพที่ไม่ดีก็ไม่สามารถจะไปให้คำแนะนำหรือดูแลผู้อื่นได้ โดยใช้หลักการออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ30นาทีเป็นอย่างน้อย ดูแลเรื่องอาหารด้วยการทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ควบคุมอารมณ์และจิตใจด้วยการฝึกสมาธิ รู้สึกดีใจที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น อสม ดีเด่นในปีนี้ รางวัลที่ได้จะเป็นขวัญกำลังใจให้ตนเองทำงานดูแลพี่น้องในชุมชนให้ดียิ่งๆขึ้นไป..เสียง
นอกจากนั้นภายในงานยังจัดให้มีกิจกรรมการบูธ ของสมาชิก อสม.ทั้ง 20 หมู่บ้าน จาก3ตำบลของอำเภอสังขละบุรี ซึ่งประกอบด้วยตำบลหนองลู ตำบลปรังเผล และตำบลไล่โว่ โดยมี อสม.ทั้งหมด 428 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
นายรังสิมันตุ์ ทองสวัสดิ์ สาธารณสุขอำเภอสังขละบุรีเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงบทบาทและความสำคัญของ อสม.ในปัจจุบันว่า อสม.มีบทบาทเป็นหมอคนแรก ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดประชาชน และรู้ปัญหาในพื้นที่มากกว่า หมอ เพราะฉะนั้นการที่ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมี อสม.ส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น เห็นได้ชัดเจนก็คงจะเป็นเหตุการณ์ โควิต-19 ระบาด ในช่วงปี พ.ศ.2563-2565 อสม.มีบทบาทสำคัญในการ คัดกรอง ควบคุม ดูแลผู้ป่วย ด้วยการทำงานที่ทุ่มเท เสียสละ เคียงบ่าเคียงไหล่บุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาได้ จึงนับได้ว่า อสม.เป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าของกระทรวงสาธารณสุข เสียง..(เสื้อสีฟ้า)
ด้าน นพ.กฤษดา วุธยากร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า อสม.มีบทบาทเป็นหมอคนแรกที่เข้าไปดูแลประชาชนในชุมชนเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและยกระดับของ อสม.ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายพัฒนาระบบแพทย์ปฐมภูมิด้วยการส่งเสริมบทบาท อสม.(Smart อสม.) เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติงาน และรายงานผลการปฎิบัติงานในกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.อสม.ประเมินสุขภาพตัวเองเบื้องต้น 2.อสม.ติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน 3.อสม.คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมกรอำนวยการจัดงานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ”อสม.ทั่วไทย ร่วมใจให้บริการด้านปฐมภูมิ ทุกกลุ่มวัย.”
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี