กาญจนบุรี นรด.บวงสรวง เปิด “ค่ายเขาชนไก่” พร้อมนำสื่อมวลชนชมมาตรการความปลอดภัยสร้างความมั่นใจในการฝึกภาคสนาม นศท. ประจำปีการศึกษา 2566
วันที่ 7 มกราคม 2567 ที่ค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
พลโท ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นประธานในการประกอบพิธีทางศาสนาและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่ และเปิดกองอำนวยการฝึกภาคสนามนักศึกษาวิชาทหาร พร้อมกันนี้ ได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อม ใน 5 มาตรการความปลอดภัยในการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร เพื่อสร้างความมั่นใจและคลายความกังวลให้แก่ ผู้ปกครอง
จากนโยบายการฝึกภาคสนาม และข้อห่วงใยของผู้บังคับบัญชาที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) เป็นอันดับแรก หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) จึงได้กำหนดมาตรการหลัก 5 ประการ ให้กับส่วนที่เกี่ยวข้องได้ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับ นศท. ที่เข้ารับการฝึก รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นใจและคลายความวิตกกังวลแก่ผู้ปกครอง
ในการฝึกภาคสนาม นศท. ประจำปีการศึกษา 2566 นี้ จะมี นศท. ชั้นปีที่ 2 – 3 จากส่วนกลาง และ นศท.ชั้นปีที่ 4 – 5 จากทั่วประเทศ เข้ารับการฝึก ณ ค่ายฝึก นศท. เขาชนไก่ มากกว่า 72,000 คน เริ่มทำการฝึกตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ถึง วันที่ 10 มีนาคม 2567 5 มาตรการความปลอดภัยในการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร เพื่อสร้างความมั่นใจและคลายความกังวลให้แก่ ผู้ปกครอง ประกอบด้วย มาตรการด้านที่ 1 ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย : จัดรถโดยสารรับ-ส่ง นศท. จาก กทม. ไป-กลับค่ายฝึกเขาชนไก่ กว่า 1,900 เที่ยว โดยมีวันที่มากที่สุดถึง 63 คัน รถโดยสารทุกคันได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ผ่านการประมูลแบบ e-bidding ตามข้อสัญญาในหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยตรวจสภาพความพร้อมของพนักงานขับรถ และรถโดยสาร ให้พร้อมและปลอดภัยในการใช้งาน โดยจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบก่อนออกเดินทางในช่วงเช้าของทุกวัน จัดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนย้ายประจำอยู่บนรถโดยสารทุกคัน เพื่อกำกับดูแลในระหว่างการเคลื่อนย้ายให้เกิดความปลอดภัย จัดให้มีแผนเผชิญเหตุในกรณีต่างๆ และได้ทำการฝึกทบทวนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนย้าย และขอรับการสนับสนุนชุดปฐมพยาบาลขบวนล่ะ 1 ชุด กรณีเกิดเหตุเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง โดยมีแผนบรรทุก นศท.จำนวน 42 คน ต่อ คันจัดให้มีรถนำขบวนจาก มทบ.11 และ มทบ.17 ร่วมกับ ตำรวจทางหลวงและ ตำรวจภูธรจังหวัด และตำรวจภูธรอำเภอ ในแต่ละพื้น เพื่ออำนวยความสะดวก ควบคุมระยะต่อและจำกัดความเร็วของขบวนรถ ตลอดเส้นทางทั้งไปและกลับ
มาตรการด้านที่ 3 การให้บริการทางการแพทย์ : จัดทำบัตรข้อมูลประจำตัว นศท. ให้พกติดตัวไว้ที่กระเป๋าเสื้อด้านขวาตลอดเวลาที่เข้ารับการฝึก (ชื่อ-สกุล อายุ หมู่เลือด โรคประจำตัว ยาที่แพ้ หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครอง และเพื่อนสนิท) ช่วยให้สามารถช่วยเหลือ นศท. ที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บได้อย่างรวดเร็ว จัดเจ้าหน้าที่เสนารักษ์ประจำอยู่กับ นศท. ทุกกองร้อย และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ พร้อมยาและเวชภัณฑ์ประจำกองอำนวยการฝึกฯ พร้อม 24 ชั่วโมง รวมทั้งยังได้ดำเนินโครงการ “นักศึกษาวิชาทหารปลอดภัยจากการฝึก” ของกรมแพทย์ทหารบก โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ และโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่อยู่ในพื้นที่ ติดสัญลักษณ์ (ผูกโบว์สีแดงแขนเสื้อด้านขวา) เพื่อให้ครูฝึกได้สังเกตุและเฝ้าระวัง นศท. ที่มีความเสี่ยง เช่น เป็นโรคอ้วน หรือมีโรคประจำตัว
ความปลอดภัยจากโรคลมร้อน อบรมครูฝึกทุกนาย ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐาน ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมร้อน รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้ นศท. โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ทางสื่อโซเชียลก่อนเข้ารับการฝึก และจัดการอบรม เพื่อให้ นศท.ได้รู้ถึงวิธีการป้องกันตนเอง วิธีการสังเกตอาการ และวิธีการปฏิบัติเมื่อตนเองหรือเพื่อนๆ มีอาการของโรคลมร้อน กำหนดให้เจ้าหน้าที่ส่วนปกครองเน้นย้ำให้ นศท.ทุกนาย ให้ความสำคัญกับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และสังเกตสีปัสสาวะของตนเองทุกวัน รวมทั้ง กวดขันให้ นศท.เติมน้ำให้เต็มกระติกก่อนออกไปทำการฝึก และดื่มน้ำทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยระบายความร้อนของร่างกาย ติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิ วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ และธงสัญญาณในพื้นที่การฝึก เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนและปรับระยะเวลาการฝึกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
มาตรการด้านที่ 3 ด้านการฝึก :จัดเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ-ทดสอบความพร้อมของสิ่งอุปกรณ์ ก่อนการใช้งานทุกครั้ง โดยเฉพาะที่สถานีทดสอบกำลังใจ การไต่หน้าผา – ลงทางดิ่ง สถานีที่มีการใช้สิ่งอุปกรณ์ประเภทกระสุนและวัตถุระเบิด และการฝึกกระโดดร่มแบบพาราเซล รวมทั้งจัดให้มีรถพยาบาล ฝ่ายการแพทย์ พร้อมพลขับประจำในพื้นที่การฝึก
การแต่งตั้งนายทหารนิรภัยการฝึก คอยให้คำแนะนำ ตรวจตรา และกำกับดูแลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ครูฝึก ให้เป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
มาตรการด้านที่ 4 ด้านการเสริมสร้างสุขอนามัย : ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาศูนย์ฝึกฯได้รับฟังแนวความคิดและปัญหาต่าง ๆ จาก นศท. ที่เข้ามาฝึกในแต่ละปี และได้นำมาแก้ไขพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยึดโยงกับนโยบายของผู้บังคับบัญชาในเรื่องความปลอดภัยและการฝึกเชิงสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาเพื่อ อาทิ จัดหาห้องสุขาน็อคดาวน์ เพิ่มเติม เป็น 65 ห้อง ติดเครื่องกรองเพิ่มเติม ที่แทงค์น้ำขนาด 2,000 ลิตร รวมเป็น 12 จุด เพื่อให้มีจุดบริการน้ำสะอาดที่เพียงพอกับ นศท. (เปลี่ยนทำความสะอาดไส้กรองในทุกๆ ๓ เดือน) จัดหาเต๊นท์นอนเพิ่มเติม รวมจำนวน 2,800 หลัง สำหรับ นศท.ชั้นปีที่ 2 และ 3
จัดหาเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ช่วยทำความสะอาดได้ทั่วถึงและประหยัดเวลาแจกจ่ายถาดใส่อาหาร (ถาดหลุม) สำหรับใช้ประจำตัว นศท. จนกว่าจะจบการฝึก ป้องกันการปะปนกัน มีการล้างน้ำยา น้ำสะอาด ลวกน้ำร้อนฆ่าเชื้อ ลดไขมันที่เกาะติดถาด และนำใส่ถุงเก็บเพื่อป้องกันฝุ่นละออง ดินทราย ที่ลมพัดมา
มาตรการด้านที่ 5 ความปลอดภัยในด้านการประกอบอาหาร :ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยของแม่ครัวที่มาประกอบอาหาร ใส่ใจความสะอาด สดใหม่ และคุณภาพของวัตถุดิบ รวมถึงความสะอาดของสถานที่ กระบวนการประกอบอาหาร ไปจนถึงภาชนะที่ใช้ และให้ความสำคัญกับเวลาและสถานที่ เพื่อให้ นศท.ได้ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ในสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการรับประทานอาหาร
นอกจากนี้ยังจัดให้มีคณะกรรมการจากฝ่ายการแพทย์คอยให้คำแนะนำและตรวจสอบการประกอบอาหารในแต่ละวัน
พลโท ทวีพูล ริมสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้ทำหารตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ในการฝึกนักศึกษาวิชาทหารประจำปี 2566 ประกอบด้วย การช่วยเหลือนักศึกวิชาทหารป่วยขณะทำการฝึกโดยจัดให้มีแพทย์สนามพร้อมรถพยาบาล เต๊นสนามสำหรับนักศึกษาวิชาทหารพัก และอุปกรณการฝึกต่างๆ
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี