ประจวบคีรีขันธ์ มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวลจัดโครงการอัตลักษณาภาษาศิลป์ กับศิลปะ ศิลปินบนถิ่นไทย

มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวลจัดโครงการอัตลักษณาภาษาศิลป์ กับศิลปะ ศิลปินบนถิ่นไทย (ครั้งที่ 17)
วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566  ที่ณ ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล เจ้าภาพการจัดโครงการอัตลักษณาภาษาศิลป์ กับศิลปะ ศิลปินบนถิ่นไทย (ครั้งที่ 17) ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จัดพิธีเปิดการแข่งขันการประกวดผลงานแกะสลักหยวกกล้วย (แทงหยวก) ภายใต้กรอบ “สืบสานงานอนุรักษ์ น้อมสำนึก รักษ์ทรัพยากรไทย” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, การประกวดเครื่องแต่งกายพื้นเมือง เทพบุตรเทพธิดาชนเผ่าไทย และกิจกรรมยกย่องคุณธรรมจริยธรรมบุคคลต้นแบบ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาพร นาคทิม รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตวังไกลกังวล กล่าวรายงาน และนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน กล่าวต้อนรับ การจัดโครงการครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ เทศบาลเมืองหัวหิน โรงเรียนนายสิบทหารบก ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนาฎศิลป์ไทย เทศบาลเมืองหัวหิน สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ และศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน

โครงการอัตลักษณาภาษาศิลป์ กับศิลปะ ศิลปินบนถิ่นไทย (ครั้งที่ 17) จัดการแข่งขัน 3 รายการ ได้แก่
1.การประกวดผลงานการแกะสลักหยวกกล้วย (แทงหยวก) ภายใต้กรอบ “สืบสานงานอนุรักษ์ น้อมสำนึก รักษ์ทรัพยากรไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 6 ทีม ได้แก่
(1) ทีมคณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
(2) ทีมคณะศิลปศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
(3) ทีมคณะบริหารธุรกิจสืบสานศิลปะบนถิ่นไทย มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
(4) ทีมมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
(5) ทีมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
(6) ทีม อบต.มาบปลาเค้า จังหวัดเพชรบุรี

2. การประกวดการแต่งกายพื้นเมือง “เทพบุตรและเทพธิดาชนเผ่าไทย”
ผู้เข้าประกวดจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป กว่า 30 คน
3. มอบรางวัลหน่วยงาน ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและนักศึกษาดีเด่นด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชาติ (บุคคลต้นแบบความดี)
ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิยอดเยี่ยม 2 คน
ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิดีเด่น 7 คน
ประเภทบุคลากรทางการศึกษา (สายวิชาการดีเด่น) 17 คน
ประเภทบุคลากรทางการศึกษา (สายสนับสนุนดีเด่น) 2 คน
ประเภทนักเรียน/นักศึกษา ดีเด่น 17 คน