กาญจนบุรี ภัยแล้งชาวนาวังศาลาเดือดร้อนข้าวเสียหายกว่า 400 ไร่

กาญจนบุรี ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งชาวนาวังศาลาเดือดร้อนข้าวในนาตายเสียหายกว่า 400 ไร่ รวมตัวเขียนป้ายข้อความขอช่วยเหลือการเยี่ยวยา จากสยามคราฟท์อุตสาหกรรม ที่ปล่อยน้ำทำให้ดินเกิดความเค็ม กลุ่มเกษตรกรบอกทำมากว่า 10 ปี เพิ่งเจอปัญหา

วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ตามที่บริษัทฯ ได้ร่วมกับคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วยอำเภอท่าม่วง คณะกรรมการชุมชน ดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รอบโรงงาน ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรเป็นประจำทุกปี ได้ส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว มีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้แก่เกษตรกรรอบโรงงานตำบลวังศาลาและตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี รวมพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ โดยประชาชนได้รับประโยชน์ ในการใช้เพาะปลูก มีรายได้ และลดต้นทุนจากการใช้น้ำ ปีนี้เกิดฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติทำให้เกษตรกรชาวนาเดือดร้อนข้าวยืนต้นตาย รวมตัวขอให้ทางสยามคราฟท์อุตสาหกรรมช่วยเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรเป็นหนี้สินกันถ้วนหน้า กลุ่มเกษตรกร บอกทำมากว่า 10 ปี เพิ่งเจอปัญหา


นายฑรัท เหลืองสะอาด นายอำเภอท่าม่วง นายเนตร์ กิญยะมาลา อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายอานนต์นัทย์ พิทักษ์สกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 นายยงยุทธ สุภาเนตร ตัวแทน บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด พร้อมกลุ่มเกษตรกรชาวนาประมาณ 50 ราย เขียนป้ายข้อความเรียกร้องขอให้ทางบริษัทฯ ช่วยเหลือเยี่ยวยาที่ข้าวในนาที่ปลูกแห้งตาย ส่วนชาวนาที่ทำนาอยู่ในพื้นที่ตำบลวังศาลา หมู่ที่ 2,3,6,9 และจากการเจรจาประกอบด้วย อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายอำเภอท่าม่วง และตัวแทนบริษัทบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด ได้มีการเจรจาหารือลงความเห็นร่วมกัน ให้นำประเด็นการเรียกร้องขอค่าช่วยเหลือให้เสนอต่อสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เป็นคนกลางเป็นผู้พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ตามที่เกษตรกรชาวนา เรียกร้องขอในกระบวนการถัดไป เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย โดยกลุ่มเกษตรกรชาวนาร้องขอให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ช่วยเร่งพิจารณาดำเนินการให้ทางบริษัทฯ ชำระเงินช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรชาวนาให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน คือภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 และกลุ่มเกษตรกรชาวนาที่ได้รับเดือดร้อนได้ลงชื่อ รวมถึงความเสียหายแต่ละราย เพื่อนำส่งมอบให้แก่ทาง สำนักงานยุติธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้ชี้ขาดลงมา ทางบริษิทฯ ก็จะดำเนินการค่าเยี่ยวยาให้แต่ละรายต่อไป
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งทางบริษัทฯได้รับแจ้งจากกลุ่มเกษตรกรจำนวน 2 ราย ผู้ใช้น้ำของโรงงานในพื้นที่หมู่ 2,3,6,9 ตำบลวังศาลา ตั้งแต่ปี 2557 – ปัจจุบัน แจ้งว่ามีข้าวยืนต้นตายในนาข้าว และรวมถึงมีการรวมกลุ่มร้องขอให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทขอเรียนแจ้งข้อเท็จจริงและแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้


ทันทีที่ทราบข่าว ชุมชนสัมพันธ์ของบริษัทได้ลงพื้นที่ไปพบเกษตรกรเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งหยุดการปล่อยน้ำ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง จากนั้น ได้ประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำก่อนส่งออกจากโรงงานและน้ำในพื้นที่แปลงเกษตร สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี เกษตรอำเภอท่าม่วง เพื่อตรวจสอบคุณภาพดิน และสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบต้นข้าวที่เสียหาย รวมถึงได้รายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างต่อเนื่อง
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดิน และสาเหตุของต้นข้าวตาย ซึ่งชี้แจงโดยนายอำเภอท่าม่วงและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องพบว่า น้ำของโรงงานที่ส่งให้เกษตรกร มีค่าตามมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดินในพื้นที่เกษตรมีสภาพเค็ม ค่า pH สูง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการแพร่กระจายดินเค็มในสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงเกิน 25 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ดินมีอัตราการระเหยน้ำสูง ตลอดจนอาจมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปหรืออัตราไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลานาน หรือการปลูกข้าวติดต่อกันหลายฤดูปลูกโดยไม่มีการพักแปลง ต้นข้าวขาดน้ำเนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้สภาพพื้นดินขาดน้ำ ขาดความชุ่มชื้น ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้น้ำในนาข้าวมีอุณหภูมิสูงมาก
ปล่อยเสียง เจ้าหน้าที่สยามคราฟท์อุตสาหกรรม และกลุ่มเกษตรกรชาวนาเดือดร้อนกล่าวทิ้งท้าย
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี