กาญจนบุรี อดีตกำนันตำบลเลาขวัญนำชาวบ้านกว่า 300 คนลงชื่อยื่นคัดค้านการก่อสร้างโรงงานเผายางหวั่นสร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อมให้กับชาวบ้าน
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 นายเคียง ทองแก้ว อดีตกำนันตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี นายเกษร ชาวสวน กำนันเลาขวัญ นายหงษ์ทอง ศรีบุญมี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 นายสมบัติ สิริกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 แกนนำ พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนกว่า 300 คน ได้เดินทางมายังที่ว่าการอำเภอเลาขวัญเพื่อเข้าพบและยื่นหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงงานเผายางตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี กับนายวิชัย ปัทมวิภาค นายอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวได้เดินทางมาถึงยังบริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอเลาขวัญ ชาวบ้านดังกล่าวได้นำรถเครื่องขายเสียพร้อมแผ่นป้ายมีใจความว่า พวกเราชาวบ้านตำบลเลาขวัญไม่ต้องการโรงเผายาง ไม่ต้องการกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องการสร้างมลพิษ ไม่ต้องการส่งกลิ่นเหม็นมาชู
จากนั้น นายเคียง ทองแก้ว อดีตกำนันตำบลเลาขวัญและผู้นำท้องถิ่นได้ผลัดกันพูดเกี่ยวกับปัญหาของการตั้งโรงงานเผายางในพื้นที่ตำบลเลาขวัญ พร้อมกับให้ชาวบ้านที่เดินทางมาร่วมคัดค้านในครั้งนี้รวมลงชื่อคัดค้านด้วยตัวเองก่อนจะทำการยื่นหนังสือคัดค้านให้กับนายวิชัย ปัทมวิภาค นายอำเภอเลาขวัญ เสร็จสิ้นการลงชื่อคัดค้านกลุ่มแกนนำได้เป็นตัวแทนชาวทำการยื่นหนังสือต่อนายอำเภอแต่นายอำเภอไม่อยู่เดินทางไปราชการที่ศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีจึงได้มอบหมายให้ปลัดศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเลาขวัญมารับหนังสือจากชาวบ้านแทนหลังจากนั้น นายเคียง ทองแก้ว อดีตกำนันตำบลเลาขวัญ พร้อมแกนนำและชาวบ้านได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือตัดค้านกับทางนายเมธี สุกุลธนาศร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลาขวัญไม่อยู่ได้เดินทางพื้นที่ตำบลเลาขวัญแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับเรื่องของถนนโดยมอบหมายให้นางสาวพิมพ์พรรณ จันทร์รูปงาม ปลัด อบต.เลาขวัญมาเป็นผู้รับหนังสือคัดค้านการก่อสร้างโรงงานเผายางแทนเสร็จแล้วกลุ่มแกนนำและชาวบ้านได้แยกกันเดินทางกลับ
นายเคียง ทองแก้ว อดีตกำนันตำบลเลาขวัญ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ชาวบ้านตำบลเลาขวัญได้ทำการร้องเรียนและคัดค้านการก่อสร้างโรงเผายางกับทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาแล้วครั้งหนึ่งซึ่งในครั้งนั้นทางโรงงานดังกล่าวก็หยุดทำการก่อสร้างจนกระทั่งมาถึงเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมาโรงงานเผายางที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๗ ตำบลเลาขวัญได้ดำเนินการทำการก่อสร้างต่อ การดำเนินการดังกล่าวของโรงงานเผายางก็ยังไม่ได้ทำประชาคมหรือขอความคิดเห็นชอบกับชาวบ้านแต่อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องของผลกระผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่มีชีวิตบริเวณพื้นที่โดยรอบซึ่งมีจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 7, 12 และหมู่ 15 ตำบลเลาขวัญรวมถึง โรงเรียนอีก 1 แห่ง ก็คือโรงเรียนบ้านเขานางสางหัวและวัด 3 แห่ง ได้แก่วัดเขานางสางหัว, วัดหนองกระทุ่ม, วัดสุวรรณรี ชาวบ้านตำบลเลาขวัญเรามีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเพื่อที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมต่างๆของตำบลเลาขวัญตนและชาวบ้านขอทำการคัดค้านการสร้างโรงเผายางบริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลเลาขวัญ แต่ถ้าทางโรงงานคิดจะสร้างโรงเผายาง ทางโรงงานจะต้องมีการทำประชาคมกับชาวบ้านก่อนเท่านั้น ชาวบ้านว่าไงเราก็ทำตามที่ชาวบ้านต้องการเพียงแค่นี้แต่โรงงานเผายางดังกล่าวยังไม่ดำเนินการแต่อย่างไร.
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี