ปปท.เขต 1 ลงพื้นที่ดูสภาพคลองและทำความเข้าใจ กับกลุ่มผู้คัดค้านการดำเนินการก่อสร้างดาดคอนกรีต คลองส่งน้ำ 2 ขวา 3 ซ้าย ในพื้นที่ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมืองอ่างทอง
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30 น สำนักงาน ปปท เขต 1 ได้มอบหมาย จ่าเอกบรรจบ ท้วมวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานป้องกันการทุจริตในภาครัฐ สำนักงาน ปปท.เขต 1 พร้อมคณะเจ้าหน้าที่งานป้องกันลงพื้นที่หาข้อสรุปอีกครั้งหลังได้รับหนังสือศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอ่างทอง ด่วนที่ ที่ อท.0017.1 / 1974 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2566 หนังสือสำนักงานชลประทานที่ 12 กษ. 0321 /457 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2566
ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 มีผู้คัดค้านการก่อสร้างดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำ 2 ขวา 3 ซ้ายบริเวณใกล้เคียงวัดแม่นาง ตำบลป่างิ้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งทางโครงการยางมณี ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้น้ำชลประทาน คลองส่งน้ำ 2 ขวา 3 ซ้าย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นวันชี้แจ้งผลการประชาคมและหาข้อสรุปไม่มีการโหวตแต่มีผู้มารับฟังผลการชี้แจงของหน่วยงาน ดังนั้นไม่ได้มีการนับผู้เห็นด้วยและผู้คัดค้าน ตามหนังสือที่อ้างถึง 2 โดยมีการเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองเป็นประธาน ( มอบหมายให้นายไพบูลย์ ศุภบุญ นายอำเภอเมืองอ่างทอง) โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 1 ,ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12, ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร ,นายอำเภอวิเศษชัยชาญ, นายอำเภอโพธิ์ทอง, ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอ่างทอง, เจ้าหน้าที่ชลประทาน, และเกษตรกรผู้ใช้น้ำในคลองส่งน้ำ 2 ขวา 3 ซ้าย (คลองตาแม้น) เพื่อชี้แจงเหตุผลความจำเป็นความเดือดร้อนของพี่น้องในคลองทั้งสาย 20 กิโลเมตร 8 ตำบล 3 อำเภอ จังหวัดอ่างทองนั้น
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 1 ชี้แจงให้ความเห็นในที่ประชุมเรื่องความเป็นมาของคลองส่งน้ำสายนี้ และเรื่องความจำเป็นที่ชลประทานต้องดำเนินงานด้วยการดาดคอนกรีตดังนี้
1 หากยังไม่มีคลอง หรืออยู่ในสภาพที่ยังเป็นท้องไร่ ท้องนาอยู่ ก่อนขุดคลอง ทางหน่วยงาน หรือทางชลประทานจำเป็นต้องมีการรับฟังความคิดเห็นต้องทำประชาคม
2 คลองสายนี้เป็นคลองขุด มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งน้ำ และบำรุงรักษาคลอง โดยให้เกิดประโยชน์ของการใช้น้ำร่วมกันตลอดไป การดำเนินการปรับปรุงดาดคอนกรีตคลองแห่งนี้ก็ไม่ต้องทำประชาคมรับฟังความคิดเห็นก็ได้ แต่ทางหน่วยงานชลประทานอยากทำงานร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจให้เป็นแนวทางเดียวกันไม่อยากให้เกิดการร้องทุกข์กล่าวโทษในลักษณะคดีความกันนั้นเอง
3 สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย ทาง ปปท.เขต 1 ได้ขอ connection ไว้แล้วและนัดหมายลงพื้นที่เพื่อดูสภาพคลอง และทำความเข้าใจร่วมกัน
4 ในส่วนการทำงานของหน่วยงานชลประทาน จำเป็นต้องเดินหน้าทำงานต่อไปในเดือนกันยายนนี้ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อเกษตรกร
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30 น ผู้อำนวยการสำนักงาน ปปท.เขต 1 ได้มอบหมาย ให้จ่าเอกบรรจบ ท้วมวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานป้องกันการทุจริตในภาครัฐ สำนักงาน ปปท.เขต 1 และคณะเจ้าหน้าที่งานป้องกันฯ , เจ้าหน้าที่ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี ร่วมกับชาวบ้านผู้ที่มีความเห็นต่าง (ผู้คัดค้าน) จำนวนหนึ่งร่วมลงพื้นที่จริงเพื่อเปรียบเทียบ โดยลงพื้นที่บริเวณที่มีการทำโครงการดาดคอนกรีตคลองไปแล้ว เพื่อเปรียบเทียบ กับสภาพคลองบริเวณที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ดาดคอนกรีตคลอง เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ข้อดี ข้อด้อย ผลประโยชน์ ที่ผู้ที่ใช้น้ำจะได้รับจากการดำเนินโครงการฯ หลังจากเสร็จสิ้นการลงสำรวจพื้นที่หาข้อยุติแล้ว ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครับ เขต 1 จะทำหนังสือขอให้ ชลประทานดำเนินการวางแผน การจัดการผลกระทบระหว่างดำเนินการโครงการก่อสร้างที่จะดำเนินการต่อไปในเดือนกันยายน 2566 นี้ และเร่งการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบต่อไป
สาทร คชวงษ์ / รายงาน