สุพรรณบุรี เกษตรจังหวัด รณรงค์งดเผาฟางในนาลดมลพิษลดต้นทุนเพิ่มผลิต
เกษตรสุพรรณบุรีลงพื้นที่รณรงค์ให้ความรู้เกษตรกรชาวนานำไปไปใช้ประโยชน์ งดเผา ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตเกษตรกรตื่นตัวลดการเผาฟาง หันเข้าร่วมกลุ่มธนาคารฟางบ้านยางนอน
ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 21 มิถุนายน 2566 นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยนางปุญชรัศมิ์ ปลั่งดี เกษตรอำเภอเดิมบางนางบวช และเจ้าหน้าที่เกษตร ลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์การลดการเผาฟางข้าวให้กับเกษตรกร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัยได้มาตรฐาน และเกษตรแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและข้อเสนอแนะในการการจัดตั้ง ต่อยอด ขยายผล ธนาคารฟาง ณ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ข้าว หมู่ 4 ตำบลยางนอน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่าวันนี้มาเยี่ยมชมธนาคารฟางข้าว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่(ข้าว)ตำบลยางนอน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีมีพื้นที่ทำนาประมาณ 1,300,000 ไร่ พี่น้องเกษตรกร ทำนาได้ผลผลิตค่อนข้างได้ข้าวดีมีคุณภาพ ภาคเกษตรได้ส่งเสริมเกษตรกรในรูปแบบโครงการแปลงใหญ่ สิ่งที่สำคัญที่ส่งเสริมเกษตรกรเพื่อไปตอบโจทย์ในเรื่องการพัฒนาไม่ระดับประเทศหรือระดับจังหวัด จังหวัดที่ตอบโจทย์ก็คือการเกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจมั่นคง ตามคำขวัญเป้าหมายของนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ที่นี่ก็คือธนาคารฟาง ที่ต่อยอดของเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 77 คนค่อนข้างเยอะ
สิ่งสำคัญก็คือแปลงใหญ่นาข้าวแปลงนี้ได้ตอบโจทย์ก็คือการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องลดการเผา วันนี้เรามีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพข้าว เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรลดการเผาในนาข้าว ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวนา ชาวไร่อ้อย เป็นจำเลยของสังคมมาตลอด สุพรรณบุรีก็เป็นส่วนหนึ่ง ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรตำบลยางนอนจึงได้รวมกลุ่มชาวนาแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มมูลค่าในการขายฟางจากที่ผ่านมาเคยขายฟางไร่ละ 100 บาทโดยผู้ประกอบการเอารถมาเก็บเอง วันนี้วิธิคิดของแปลงใหญ่ของตำบลยางนอน อำเภอเดิมบางนางบวช ได้สร้างธนาคารฟางข้าวขึ้นโดยมีสมาชิกที่สมัครใจเข้าร่วมช่วยกันคิดช่วยกันทำด้วยหลักการการมีส่วนร่วม คือช่วยกันคิดก่อนว่าควรทำแบบไหน โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเดิมบางนางบวช เกษตรตำบลยางนอน เป็นพี่เลี้ยงช่วยแนะนำ ทำให้เกิดการวมกลุ่มส่งต่อไปยังผู้นำชุมชนในหมู่หบ้าน
นอกจากนั้นฟางข้าววันนี้มีการแปรรูปส่งต่อเพิ่มมูลค่าไม่ว่าจะนำไปทำเห็ดฟาง ของกลุ่มเห็ดฟางในหลายอำเภอฟางส่วนหนึ่งยังเพิ่มความชื้นในดินไปคลุมแปลงผักเกษตรกรบางคนเก็บฟางไว้ใช้เองหรือซื้อฟางราคาถูกมาคลุมแปลง ช่วยลดการระเหยของน้ำเกษตรกรบางรายที่เก็บฟางไม่ได้เช่นพื้นที่นาไม่เรียบมีน้ำขังรถอัดฟางลงไม่ได้ก็ใช้วิธีการกระจายฟาง เสร็จก็ใช้ อีเอ็ม ที่หมักจากหน่อกล้วย และหมักจากฟางเข้าไปช่วยหมักใช้เวลาประมาณ 15 วันก็สามารถไถกลบได้นี่คือวิธีช่วยลดแก๊สมีเทน การทำนาต้องมองทุกมิติ ที่ช่วยอะไรสังคมได้บ้างเช่น ลด PM 2.5 ชุมชนได้ประโยชน์อะไร เช่นเรื่องใกล้ตัวอย่างอากาศเราดีไหม มีฝุ่นละอองไหม ซึ่งฟางส่วนใหญ่จะนำไปเป็นอาหารสัตว์ เลี้ยงโค ส่วนใหญ่จะส่งลูกทางภาคใต้ ช่วงภัยธรรมชาติน้ำท่วม ฟางจะมีราคาแพงถึงก้อนละ40บาททำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่ม ซึ่งธนาคารแห่งนับว่ามีประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ภัทรพล พรมพัก สุพรรณบุรี