กาญจนบุรี เปิดอนุสรณ์สถานเจดีย์นิรนาม พร้อมวางพวงมาลารำลึกถึงบรรพชน

กาญจนบุรี สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกาญจนบุรี ร่วมกับประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (DRIG ) กลุ่มแรงงานและทายาทอดีตแรงงานที่สูญเสียชีวิตจากการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ ส่วนราชการ ร่วมเปิดอนุสรณ์สถานเจดีย์นิรนาม พร้อมวางพวงมาลารำลึกถึงบรรพชน ณ เจดีย์นิรนาม วัดถาวรวราราม (วัดญวน)
วันที่ 3 มิถุนายน 2566 ที่เจดีย์นิรนาม วัดถาวรวราราม (วัดญวน) ข้างสุสานทหารสัมพันธมิตร อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายอธิสรรค์ อินทร์ตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานเปิดอนุสรณ์สถานเจดีย์นิรนาม รำลึกบรรพชนกลุ่มแรงงานผู้เสียชีวิตจากการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ โดยมีพระสมณานัมธีราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายอนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม กาญจนบุรี (วัดญวน) พ.อ.(พิเศษ) ดร.สุรินทร์ จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกาญจนบุรี ดร.จันทรา เสคาราน ประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (DRIG : Death Railway Interest Group Malaysia)


นายอารูมูกัม กันดาซามี อดีตแรงงานชาวทมิฬ (ผู้รอดชีวิตจากสงครามเอเชียบูรพา) นายอนันท์ ดิษฐศิริ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี นางสมมารถ คำถนอม วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี นายสมภพ ธีระสานต์ ประธานกรรมการวัดถาวรวราราม กาญจนบุรี (วัดญวน ) และทายาทอดีตแรงงานที่สูญเสียชีวิตจากการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ ส่วนราชการ แขกผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดฯ และร่วมวางพวงมาลารำลึกถึงบรรพชน
สำหรับการเปิดเจดีย์อนุสรณ์สถาน (เจดีย์นิรนาม) และพิธีวางพวงมาลารำลึกบรรพชนกลุ่มแรงงานผู้สูญเสียชีวิตจากการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ ณ อนุสรณ์สถานเจดีย์นิรนาม วัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี ในครั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานชาวเอเชียได้แก่ ชาวทมิฬ อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย m เวียดนาม และชาติอื่นๆ และเพื่อเป็นการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมความโหดร้ายและความรุนแรง ที่เกิดขึ้นต่อแรงงาน ชาวเอเชียในระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะในช่วงมหาสงครามเอเชียบูรพา อีกทั้งสถานที่ตรงนี้ต่อไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ให้แก่ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งนี้ด้วยสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกาญจนบุรี โดยพ.อ.(พิเศษ) ดร.สุรินทร์ จันทร์เพียร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกาญจนบุรี ร่วมกับ ดร.จันทรา เสคาราน ประธานกลุ่มศึกษาทางรถไฟสายมรณะ (DRIG : Death Railway Interest Group Malaysia) และทายาทอดีตแรงงานที่สูญเสียชีวิตในการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการสร้างและปรับปรุงสัญลักษณ์อนุสรณ์สถานให้กับเหล่าแรงงาน ที่ได้เสียสละในการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ เพื่อรำลึกถึงบรรพชน ครั้งสมัยที่ถูกทหารญี่ปุ่นกว้านต้อนมาเป็นแรงงานร่วมสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำแคว จึงได้ดำเนินการจัดงานสถาปนาพร้อมวางพวงมาลารำลึกถึงบรรพชน ณ เจดีย์นิรนาม วัดถาวรวราราม (วัดญวน) และการแสดงนิทรรศการเพื่อสดุดีแรงงานที่ได้เสียสละในการร่วมสร้างทางรถไฟสายมรณะ


ซึ่งแรงงานเหล่านี้ได้มาจากอินเดียมาอยู่ที่มาเลเซียและสิงคโปร์ถูกกว้านต้อนจากกองทัพญี่ปุ่น ประมาณ 140,000 คน ให้มาใช้แรงงานสร้างทางรถไฟสายมรณะจากบ้านหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ไปยังเมืองตันบูซายัด ประเทศเมียนมา เป็นระยะทาง 415 กิโลเมตร เมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อรำลึกถึงบรรพชนอดีตแรงงานที่สูญเสียชีวิต ซึ่งปัจจุบันมีแต่การกล่าวขานและรำลึกถึงเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไทย และญี่ปุ่นเท่านั้น
ทางอดีตแรงงานและทายาทอดีตแรงงานที่สูญเสียชีวิตมีความต้องการให้มีสถานที่ตรงนี้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อย้อนรอยความทรงจำที่ถูกหลงลืมไปให้กับมารำลึกนึกถึงเรื่องราวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และรำลึกถึงกลุ่มแรงงานที่ได้เสียสละชีวิตในสงครามเอเชียบูรพา อนุสาวรีย์นิรนามนี้ตั้งอยู่บริเวณสุสานวัดถาวรวรารามหรือวัดญวน วัดถาวรวราราม เป็นวัดญวนวัดแรกของไทยสร้างสมัยรัชกาลที่ 3 สังกัดอนัมนิกาย ช่วงสงครามครั้งที่ 2
สุสานวัดญวนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่กองทัพญี่ปุ่นได้ใช้เป็นที่ฝังศพทหารพันธมิตรและเหล่าเชลยศึกตลอดจนกรรมกรแรงงานที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาให้แรงงานสร้างทางรถไฟสายมรณะเป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจนไม่มีที่ฝังได้ใช้บริเวณสุสานวัดญวนขุดเป็นหลุมๆนำศพมาทิ้งฝังจำนวนมากมายโดยมิได้มีการทำพิธีกรรมทางศาสนาแต่อย่างใดเป็นภาพที่เห็นสร้างความเศร้าสลดแก่ผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง


สำหรับงานในวันนี้เกิดจากสื่อมวลชนของชาวมาเซียได้เข้ามาค้นหาข้อมูลที่จังหวัดกาญจนบุรี และพบว่าผู้เสียชีวิตในอนุสาวรีย์นิรนามแห่งนี้มีญาติของตนเองอยู่ด้วย จึงได้ติดต่อกับพระสัมณานัมธีราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายอนัมนิกายเจ้าอาวาสวัดญวนพร้อมคณะกรรมการของวัดโดยมี พันเอก(พิเศษ)สุรินทร์ จันทร์เพียรเป็นผู้ประสานงานนำคณะสื่อมวลชนพร้อมญาติของผู้เสียชีวิตเข้าไปพบเพื่อแจ้งในการขอปรับปรุงอนุสาวรีย์นิรนามแห่งนี้ จึงทำให้เกิดงานในวันนี้ขึ้น”งานสถาปนาอนุสรณ์สถานเส้นทาวรถไฟสายมรณะ Siam – Burma ” ในงานนี้นอกจากหน่วยงานของราชการที่มาร่วมงานแล้วยังมีบุคคลที่เป็นแรงงานชาวนายอารูมูกัม กันดาซามี อดีตแรงงานชาวทมิฬ (ผู้รอดชีวิตจากสงครามเอเชียบูรพา) วัย 97 ปี (เจ้าตัวบอกผ่านล่ามว่าเขามาอยู่ที่ท่ามะขามถึง 2 ปี) ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นมาร่วมด้วย ในตอนท้ายมีการกล่าวสดุดีดวงวิญญาณ และวางพวงมาลาเพื่อรำลึกวีรชนที่เขาเหล่านั้นได้ดับสิ้นลงภายใต้ผืนป่าจังหวัดกาญจนบุรีนับได้ว่าสุสานวัดญวนเป็นสุสานนานาชาติแห่งแรกของจังหวัดกาญจนบุรี
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี