นนทบุรี
ศึกษาธิการภาค 1ตรวจเยี่ยมวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
ที่ห้องประชุมปัญญาลิขิต วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ อ.เมือง จ.นนทบุรี นายศัจธร วัฒนะมงคล ศึกษาธิการภาค1 พร้อมด้วยนายวิสิทธิ์ ใจเถิง รองศึกษาธิการภาค1 ได้ไปตรวจเยี่ยมการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระบบทวิภาคีของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ โดยนายวิเชียร เนียมน้อม ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ นายวิเชียร เนียมน้อม ได้กล่าวขอบคุณศึกษาธิการภาค1ที่ให้ความสำคัญกับการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนระบบทวิภาคี (Dual Vocational Edcucation) ซึ่งดำเนินการมาถึง18ปีภายใต้นโยบายด้านการศึกษาของบริษัทซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเยาวชน เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ปัจจุบันมี3หน่วยงานที่ดำเนินการด้านการศึกษาคือ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์,ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์20ศูนย์ทั่วประเทศ และสถานศึกษาในความร่วมมืออีกหลายจังหวัด สาขาวิชาที่เปิดสอนประกอบด้วยสาขาธุรกิจค้าปลีกสม้ยใหม่,สาขาไฟฟ้ากำลัง,สาขาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และสาขาเทคนิควิทยาการนาฬิกา โดยรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับประกาศนีบบัตรวิชาชีพ(ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) วิทยาลัยฯยังให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการเรียนการสอนในรูปแบบ METAVERSE เพื่อครูและนักเรียนมีทักษะในการเรียนและการปฏิบัติงานเสมือนจริง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยฯได้สะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้วิทยาล้ยฯยังพร้อมที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)ระบบทวิภาคีกับสถานศึกษาในส่วนภูมิภาคเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่เด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดต่างๆให้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกันด้วย
ด้านนายศัจธร วัฒนะมงคล และนายวิสิทธิ์ ใจเถิง ได้กล่าวชื่นชมนโยบายการศึกษาของบริษัทซีพีออลล์ที่สนับสนุนการศึกษาระบบทวิภาคีอย่างสำเร็จและเป็นรูปธรรม ช่วยภาครัฐในการผลิตบุคลากรให้กับสังคมและประเทศชาติ ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่ให้ความสำคัญในเรื่องสายอาชีพ,การปลูกฝังทักษะอาชีพให้นักเรีบนและระบบทวิภาคี จึงขอสนับสนุนให้ดำเนินการใน4ประเด็นหลักคือ 1.การตั้งมั่นและดำเนินการให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนได้มีคุณวุฒิการศึกษา มีอาชีพที่มั่นคงและเป็นพลเมืองที่ดี 2.พัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานอาเซียนเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ 3.ศึกษาระบบตะกร้าความรู้หรือCredit Bank เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้สอนผู้เรียน และ 4.นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับสถานศึกษาให้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กและเยาวชนได้รับการพัฒนาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้ในอนาคต.