คณะกรรมาธิการวุฒิสภา ลงพื้นที่ศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อรับทราบข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและการขนส่งผู้โดยสารที่จะเดินทางมาจังหวัดตรัง พร้อมทั้งให้คำแนะนำปรับปรุงการดำเนินกับหน่วยงานที่รับผิดชอบตามโครงการต่างๆ
ที่ท่าเทียบเรือปากเมง ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา พร้อมด้วยที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางน้ำและการพาณิชยนาวี คณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางอากาศ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดตรัง ในจุดแรกนั้นได้ลงที่ที่หาดปากเมง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง โดยมีนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ ซึ่งทางผู้ว่าราชการ กล่าวต้อนรับและการถึงการแบ่งเขตการปกครองทั้ง 10 อำเภอและการพัฒนาจังหวัดตรังตามวิสัยทัศน์ “เมืองแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน” และกล่าวถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นนั้นทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดตรังเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่นายพริษฐ์ นราสฤษฎ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม รายงานถึงการดำเนินในพื้นที่รับผิดชอบอุทยานแห่งชาติหาเจ้าไหม ทราบว่าหลังจากที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเปิดท่าเรือหาดปากเมง ทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม เพิ่มขึ้นจำนวนมาก แตกต่างจากช่วงการแพร่ระบาดโควิด -19 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวน้อยมาก ในขณะที่นายกรวิทย์ ช่วยดู นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง กล่าวว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น มีรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า1พันล้านบาท ในขณะที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตรัง กล่าวถึงการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อรองรับการเดินเรือจากท่าเทียบเรือปากเมงไปยังเกาะต่างๆ ซึ่งทาง พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา มีความเป็นห่วงว่าการขุดลอกร่องน้ำจะส่งผลกระทบต่อหญ้าทะเล รวมถึงพะยูนฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดตรัง ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตรัง รายงานว่า การขุดลอกร่องน้ำนั้นจะขุดลึก 2.5 เมตร กว้าง 4 เมตร ระยะทาง2.5 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 28 บาทล้านบาท พร้อมทั้งยืนยันไม่ส่งผลกระทบต่อพะยูนและหญ้าทะเล เนื่องจากขุดลอกจากแหล่งหญ้าทะเล และตะกอนที่ขุดลอกนั้นจะนำมาถมบริเวณหาดทราย เป็นการป้องกันการกัดเซาะตลิ่งหรือชายหาดช่วงมรสุม
หลังจากนั้นทางคณะฯได้เดินทางรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลท่านาเกลือ อำเภอกันตัง ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และรับฟังข้อมูลการดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานตรัง ที่มีความคืบหน้าไปมากแล้ว การขยายท่าอากาศยานตรัง เพื่อรองรับการเดินทางมาท่องเที่ยวของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวชมความงามทางธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของจังหวัดตรัง เมื่อท่าอากาศยานตรังแล้วเสร็จคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง