ตรัง เกษตรจังหวัดจัดงานวันปักดำและงานประชาสัมพันธ์ข้าวเบายอดม่วง

เกษตรจังหวัดตรัง จัดงานวันปักดำและงานประชาสัมพันธ์ข้าวเบายอดม่วง ตามโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวเบายอดม่วง เพื่อรองรับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดตรัง ข้าวเบายอดม่วงตรัง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองประจำถิ่นจังหวัดตรัง นิยมปลูกไว้สำหรับผู้สูงอายุและเด็กเล็กด้วยมีความนิ่ม รสชาติดี หอม ทำให้เจริญอาหาร
ที่แปลงนาบ้านหนองแสง หมู่ที่ 10 ต.นาพละ อ.เมืองตรัง จังหวัดตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันปักดำและงานประชาสัมพันธ์ข้าวเบายอดม่วง ตามโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวเบายอดม่วง เพื่อรองรับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดตรัง (โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565)


ซึ่งข้าวเบายอดม่วงตรัง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองประจำถิ่นจังหวัดตรัง นิยมปลูกไว้สำหรับผู้สูงอายุและเด็กเล็กด้วยมีความนิ่ม รสชาติดี หอม ทำให้เจริญอาหาร คนวังคีรี ว่าข้าวนี้ปลูกให้คนแก่ คนท่าพญาว่าข้าวนี้เป็นข้าวจ้าวเหนียว ใช้แทนข้าวเหนียวกินกับทุเรียน อร่อย แหล่งสุดท้ายที่พบพันธุ์ข้าว คือ ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ลักษณะเด่น ปล้องและดอกข้าว มีสีม่วงเหมือนสีของยอดมะม่วงเบา ข้าวกล้องมีสีแดง ฤดูกาลข้าวนาปี ปลูกเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน เก็บเกี่ยว เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีผลการวิจัยคุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องเบายอดม่วง พบว่าเป็นข้าวที่มีโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรตต่ำ มีปริมาณฟีนอลิกและค่าการต้านทานอนุมูลอิสระสูงทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภคในการป้องกันโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวาน จังหวัดตรังโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร 2564 ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูก จำนวน 426 ไร่ และ ในปี 2565 ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวเบายอดม่วงเพื่อรองรับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดตรัง โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบประมาณ 980,800 บาทขยายพื้นที่ปลูกข้าวเบายอดม่วง จำนวน 500 ไร่ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 146 ราย ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอนาโยง อำเภอเมืองตรัง และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีผลการดำเนินงานจำนวน 2 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมหลักที่ 1 ส่งเสริมการผลิตโดยขยายพื้นที่ปลูกข้าวเบายอดม่วง โดยมีเป้าหมายปรับเปลี่ยนพื้นที่นาร้าง และปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เป็นข้าวเบายอดม่วง จำนวน 500 ไร่งบประมาณ 712,800 บาท มีผลการดำเนินงาน คือ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 146 ราย จากเป้าหมาย 100 ราย พื้นที่การปรับเปลี่ยนปลูกข้าวเบายอม่วง จำนวน 500 ไร่

โดยสนับสนุนการจ้างไถนาพร้อมปักดำและสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวเบายอดม่วงจำนวน 6,000 กิโลกรัมกิจกรรมหลักที่ 2 พัฒนากลุ่ม/เครือข่าย โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มและจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม และจัดทำแผนพัฒนากลุ่ม โดยมีแผนการผลิตแผนการตลาด และสนับสนุนปัจจัยให้กลุ่มเพื่อสิ่งเสริมการแปรรูปและพัฒนาด้านการตลาด งบประมาณ 268,000 บาท มีผลการดำเนินงาน คือ มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตข้าวเบายอดม่วงจำนวน 3 กลุ่ม/146 ราย /ประกอบด้วย กลุ่มผู้ผลิตข้าวเบายอดม่วงอำเภอเมืองตรัง กลุ่มผู้ผลิตข้าวเบายอดม่วงอำเภอนาโยง และกลุ่มผู้ผลิตข้าวเบายอดม่วงอำเภอห้วยยอด

รวมทั้งมีการรวมกลุ่มเพ่อพัฒนาการผลิต การตลาดและการแปรรูป มีการจัดทำบรรจุภัณฑ์ข้าวเบายอดม่วง การจัดงาน 1. เพื่อประชาสัมพันธ์การขยายพื้นที่การปลูกข้าวเบายอดม่วงตรังให้เพิ่มมากขึ้น2. เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตข้าวในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมและภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่ 3. เพื่อตระหนักถึงคุณค่าของข้าวเบายอดม่วงและได้บริโภคข้าวเบายอดม่วงที่ปลอดภัย พร้อมทั้งสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมการทำนา ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้มีความภาคภูมิใจในวิถีไทย 4. เพื่อสร้างความสมัครสามัคคีของคนในองค์กรและนอกองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเกษตรกรทำนา 5. เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม อุดหนุนผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดตรังให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 6. เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิถีการทำนาในพื้นที่
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ. ตรัง