ตรัง ด้วงแรดระบาดกัดเจาะทำลายโคนทางใบต้นปาล์ม

ด้วงแรดระบาดกัดเจาะทำลายโคนทางใบต้นปาล์ม หนักกว่านั้นจะกัดกินยอดต้นปาล์ม เพื่อเข้ามาวางไข่หรือทำให้ทางใบปาล์มน้ำมันเกิดโรคยอดเน่า จนทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุด
นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการ เกษตรชำนาญการ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง นำผู้สื่อข่าวลง พื้นที่แปลงปาล์มน้ำมัน ของนายระบิล คล้ายนอง เกษตรกรปลูก ปาล์มน้ำมันในหมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน อายุ 8 ปี จำนวน 6 ไร่ ซึ่งพบการเข้า ทำลายของด้วงแรดกระจายทั่วทั้งแปลง ลักษณะการทำลาย ช่วง ตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้น ที่เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมัน โดย บินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบต้นปาล์ม ทำให้ทางใบหักง่าย และ กัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอย ขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัด เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงแรดเข้ามาวางไข่หรือทำให้ทางใบ ปาล์มน้ำมัน เกิดโรคยอดเน่า จนทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุด

เบื้องต้นควบคุมโดยใช้กับดักฟีโรโมน ซึ่งได้รับการสนับสนุน โดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับ ตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยการนำถังที่ติดแผ่นฟีโรโมน เหนือ ถังแขวนไว้ในกับดัก วางกับดักให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป ด้วง แรด เมื่อได้กลิ่นฟีโรโมน ก็จะบินเข้าหาต้นกำเนิดกลิ่น เมื่อ ด้วงแรด ถึงกับดักก็จะบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเรียบสีเหนือถัง แล้วตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่ง ทันทีได้ จึงยังคงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นจึง สามารถเก็บไป ทำลายได้ทันที โดย 1 กับดักสามารถใช้ได้กับพื้นที่ประมาณ 10-12 ไร่


นายระบิล คล้ายนอง เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน กล่าว ตอนแรกกะไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมต้นปาล์มยอดเน่า และที่ทาง ปาล์มก็เป็นรู เมื่อนางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริม การเกษตรชำนาญการ ได้มาเยี่ยมเลยทราบว่าเกิดจากการเจาะ และกัดกินของด้วงแรด และทางเกษตรอำเภอย่านตาขาวก็ได้ มอบถังที่เรียกว่ากับดักฟีโรโมน ตอนแรกก็ไม่เชื่อว่าจะได้ผล แต่เมื่อลองนำมาแขวนเหนือลมไว้ 1 สัปดาห์ ปรากฏว่ามีด้วงแรด เข้ามาติดกับดักเกือบ 10 ตัว นับว่าเป็นการกำจัดด้วงแรด ที่ได้ผล ดีมาก นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการ กล่าวว่า จากการลงสำรวจในแปลงปาล์มน้ำ เมื่อพบ ว่ามีการแพร่ระบาดของด้วงแรดในแปลง จึงได้มอบให้ชุดกับดัก ฟีโรโมน ให้เกษตรการไปแขวนในแปลปาล์มน้ำมัน ระยะแรกๆ เกษตรกรเองก็ไม่ทราบว่าเป็นการกัดเจาะของด้วงแรด แต่พอ นำชุดกับดักฟีโรโมน ไปใช้ก็เลยทราบว่าเป็นดวงแรด ทั้งนี้ เกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาดของด้วงแรดก็ขอความ ช่วยเหลือจากเกษตรอำเภอได้ทุกแห่ง
มนต์เจิญ ศรีมงคล จ.ตรัง