กรุงเทพมหานคร คณะสงฆ์หนกลางเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยมงคล
วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 17.00 น. ที่ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คณะสงฆ์หนกลาง จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา3 มิถุนายน 2565
โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมด้วย เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เลขานุการเจ้าคณะภาค 1-2-3-13-14-15 และพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ร่วมพิธี เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา3 มิถุนายน 2565
โดยมีนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยส่วนราชการ และประชาชน ร่วมพิธี
บทสวดมนต์ “นวัคคหายุสมธัมม์” (อ่านว่า นะ-วัก-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทำ) แปลว่า ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกำหนดด้วยองค์ 9 หรือ ธรรมเป็นเครื่องเสมออายุด้วยนพเคราะห์ เป็นการรจนาบทสวดขึ้นมาใหม่ เพื่อถวายพระพรชัยมงคลเท่านั้น เช่นเมื่อครั้งทรงครองราชย์ครบ 60 ปี หรือเฉลิมฉลองทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ก็มีการรจนาบทสวดขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ทั้งนี้มหาเถรสมาคมแต่งขึ้น โดยมอบหมายให้พระเถระใดรูปหนึ่งรจนาขึ้นมา โดยดึงมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก คือ พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก และจัดพิมพ์ส่งมอบหมายให้พระทั่วประเทศ นำไปใช้ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวาย อย่างพร้อมเพรียงกัน
บทสวดนวัคคหายุสมธัมม์จะเทียบเคียงได้กับบทสวดนพเคราะห์ มุ่งให้นำธรรมะอันเป็นเนื้อหาในบทสวดมนต์ไปเป็นข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อกำจัดเคราะห์และเสริมมงคล ด้วยการประพฤติปฏิบัติ ส่วนบทสวด พระปริตรนพเคราะห์หลวง เป็นบทสวด 2 ตำรับ มาตั้งชื่อรวมกัน คือ พระปริตร และ นพเคราะห์ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ในการสวดนพเคราะห์นั้น มีพระปริตรสูตรต่างๆ รวมอยู่ด้วย เช่น มงคลสูตร รัตนสูตร กรณียเมตตสูตร เป็นต้น