กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง กระทำพิธีวางพวงมาลาเเละเชิดชูเกียรติ “พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี”เนื่องในวันถึงเเก่อนิจกรรม
ณ อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ภายในกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พ.อ.สรรัศมิ์ นิลสลับ ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 15 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ พร้อมด้วยกำลังพลและสมาชิกสมาคมแม่บ้าน ทบ.สาขา ร.15 พัน.4 กระทำพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันถึงเเก่อนิจกรรม “พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี” พร้อมทั้งสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในหน่วย เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่านที่มีต่อเมืองตรัง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กำลังพลและครอบครัว ณ ร.15 พัน.4 ค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ เป็นนักปกครองที่สามารถและเป็นนักพัฒนาที่ทันสมัย ท่านมุ่งพัฒนาบ้านเมืองในหลักสำคัญ 6 ประการ คือ การคมนาคมสื่อสาร การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตรกรรม การค้าขาย การปราบปรามโจรผู้ร้าย และการรักษาความสงบ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ท่านได้พัฒนาเมืองตรังให้กลายเป็นเมืองเกษตรกรรม และเมืองเกษตรกรรม และเมืองท่าค้าขายที่ยิ่งใหญ่ของภาคใต้ฝั่งอันดามัน พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยกุศโลบายที่แยบยลในการบริหารราชการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา
อีกทั้งมีการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟและพริกไทยเป็นสินค้าส่งออกไปขายปีนังและเมืองเดลี และเมื่อพริกไทยราคาตกต่ำลง ท่านได้นำพันธุ์ยางพาราจากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปีพุทธศักราช 2442 จังหวัดตรังจึงได้ชื่อว่า “แหล่งกำเนิดยางพารา” และพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งยางพาราไทย” นอกจากนั้น ในด้านการคมนาคม ได้มีการตัดถนนข้ามเขาบรรทัดเชื่อมจังหวัดตรังกับพัทลุง ซึ่งเป็นถนนสายที่งดงามมาก และเป็นการเชื่อมฝั่งทะเลตะวันตกกับตะวันออก ให้ไปมาหากันได้สะดวกขึ้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังระหว่างปี 2433-2444 ในปี 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตกตั้งแต่ ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่ประจักษ์เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2456 ณ บ้านจักรพงษ์ เกาะปีนัง สิริอายุได้ 56 ปี
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง