ปทุมธานี วัดสายไหมเปิดจองท้าวเวสสุวรรณรุ่นอริยทรัพย์ (รุ่นแรก)

วัดสายไหมเปิดจองท้าวเวสสุวรรณรุ่นอริยทรัพย์ (รุ่นแรก)
พระครูโสภณภัทรเวทย์ ดร. (หลวงพ่ออ๊อด ปธานิโก) ท่านเมตตาสร้างท้าวเวสสุวรรณและตั้งชื่อรุ่น นามมงคลว่า อริยทรัพย์ ซึ่งแฝงด้วยปริศนาทางธรรมมีความหมายมากมายดังต่อไปนี้
อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐ ที่ประกอบไปด้วย 7 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และ ปัญญา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.ศรัทธา คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและมั่นใจในความดีที่ทำ เป็นความเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ แม้ว่าเราเชื่อแต่ต้องมีเหตุผล เข้าใจ และรู้จักความเป็นมา ความเป็นอยู่ และความเป็นไปของเหตุนั้นด้วย อย่างการไหว้หิ้งพระในบ้านก็คือความศรัทธาเช่นกัน หรือตัวอย่างเช่น เชื่อมั่นและศรัทธาในความดีที่เราทำ และต้องมั่นใจแล้วว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์จริงๆ ซึ่งการมีศรัทธานั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินทางธรรม เปรียบเสมือนทรัพย์สมบัติที่จะอยู่ติดตัวเราไป เป็นอริยทรัพย์ 7 ประการที่ก่อให้เกิดอานิสงส์ได้


2.ศีล คือ การรักษากายวาจาใจให้สุจริต และประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อริยทรัพย์ 7 ประการในข้อนี้คือสิ่งที่ทำให้เรายึดถือและปฏิบัติให้อยู่ในศีลในธรรม และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ควรทำ หากเราไม่มีศีลและไม่ปฏิบัติตามศีล ก็จะเกิดความวุ่นวาย แต่หากเรามีศีลและตั้งมั่นอยู่ในศีล พยายามให้ใจมีศีลเป็นกรอบ รักษาเอาไว้ให้เป็นปกติให้เรียบร้อย จิตใจของเราก็จะเป็นปกติไม่ทุกข์ร้อน ไม่สะดุ้งกลัว และไม่เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ เราสามารถนำไปใช้ได้แค่เพียงตั้งมั่นในศีล ไม่ไป


3. หิริ คือ ความละอายต่อบาป ละอายต่อการทำชั่ว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เราควรมีหิริรวมถึงโอตตัปปะเป็นเครื่องรักษาใจ ถ้าเรารักษาหิริไว้เป็นสมบัติของตัวเองหรืออริยทรัพย์ 7 ประการได้แล้ว โลกนี้ก็จะร่มเย็นเป็นสุข เพราะเป็นธรรมที่คุ้มครองโลก เพราะหากเราไม่ละอายต่อความทำชั่ว ไม่กลัวต่อการทำผิด ก็จะเกิดความทุกข์ร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การฝึกให้มีหิรินั้นเป็นสิ่งที่เราทำได้ไม่ยาก แค่ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีต่อผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลังเท่านั้น และหากจิตใจเราว้าวุ่นลองใช้วิธีนั่งสมาธิให้จิตนิ่งดูนะคะ


4.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว เกรงกลัวต่อผลของบาป หากเรามีหิริ ที่เป็นการละอายในการทำชั่วเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาปอย่างโอตตัปปะก็จะไม่เพียงพอ เพราะแค่ความละอายก็แปลว่ายังสามารถทำความชั่วหรือสิ่งไม่ดีได้ แต่ถ้าเราเกรงกลัวต่อผลของมันด้วยจะช่วยให้เรายับยั้งชั่งใจในการทำความชั่วได้ยิ่งขึ้น นอกจากฝึกให้ตนเองมีหิริแล้วควรฝึกให้มีโอตตัปปะควบคู่กันด้วย เพราะหิริโอตตัปปะในใจของเราจะคอยเตือนเราให้เราเชื่อฟังและหยุดที่จะคิดทำชั่วใดๆ ผลที่ได้คือใจของเราจะเป็นใจที่เที่ยงธรรม ไม่คดโกง และไม่ทำอะไรที่เรารู้ว่าเป็นบาป


5.พาหุสัจจะ หรือความเป็นคนคงแก่เรียน การหมั่นศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เข้าใจและรอบรู้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ทำก็เป็นทรัพย์สินติดตัวเราเช่นกัน เมื่อสิ่งที่เรารู้มาอย่างลึกซึ้งและได้นำไปสอนหรือบอกคนอื่น ก็จะกลับมาเป็นหลักสอนใจเราโดยอัตโนมัติจนกลายเป็นปัญญา เราสามารถฝึกฝนสิ่งนี้ได้ด้วยการหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้ให้จริง รู้ให้ลึกซึ้งและถูกต้อง ก็จะสามารถนำไปใช้และเหมาะที่จะเอามาดำเนินชีวิตของเรา ด้วยการทำอยู่เสมอให้คล่องจนกลายเป็นปัญญาในที่สุด และปัญญานี้ก็จะติดตัวเราไปจนตาย

6.จาคะ คือ ความเสียสละ และการแบ่งปัน จาคะเป็นอริยทรัพย์ที่จะเจริญความเป็นมหานิยม เพื่อให้คนรักและนับถือเรา เพราะการเสียสละ มีน้ำใจ รู้จักแบ่งปันและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนอื่นนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ใจของเราร่มเย็นเป็นสุข แต่ทำให้เกิดกำลังเมตตาอีกด้วย ถ้าทุกคนมีจาคะ มีน้ำใจให้แก่กัน ก็จะเกิดความเมตตา เมื่อเมตตาแล้วก็รู้จักการให้อภัย ก็จะทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ เราสามารถฝึกได้ง่ายๆ แค่รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ช่วยเหลือเพื่อนที่กำลังเดือดร้อน หรือมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น เพียงเท่านี้ใจเราก็จะเป็นสุขแล้วค่ะ


7.ปัญญา คือ ความฉลาดรู้บาปบุญคุณโทษ รู้จักคิด และมีเหตุมีผล รู้ถูกผิด รู้พิจารณา และใช้ชีวิตตามความจริงไม่หลงไปตามอารมณ์หรือสิ่งเย้ายวนรอบตัว เมื่อเรามีความรู้ซึ้งประจักษ์แจ้งเห็นจริงแท้ในธรรม ก็จะเกิดปัญญาตามที่พระพุทธองค์บอก โดยใช้หลัก สุ.จิ.ปุ.ลิ (ฟัง คิด ถาม เขียน) เราสามารถฝึกและพัฒนาปัญญาของเราได้ นอกจากการเรียนรู้ให้ประจักษ์แล้ว ต้องฝึกฝนต้องหมั่นกระทำเพื่อให้เรารู้ซึ้งขึ้นเรื่อยๆ หรือสามารถใช้การฝึกวิปัสสนาภาวนา คือการฝึกจิตใจด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง เพราะปัญญาเป็นทรัพย์ทำให้เราเดินทางได้ถูกต้อง รู้จักวิเคราะห์และเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่เดินในทางที่ผิด และกระทำสิ่งใดด้วยการไตร่ตรอง ทำให้ความผิดพลาดน้อยลง


การมีอริยทรัพย์ 7 ประการก็เหมือนการมีคุณธรรมประจำใจ เพราะอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ภายใน ไม่ใช่ทรัพย์ภายนอกอย่างเช่นทรัพย์สินเงินทอง ที่จะเป็นทรัพย์ติดตัวเราไม่สามารถมีใครมาขโมยไปได้ นอกจากจะทำให้เรามีความสุขปราศจากความทุกข์ได้แล้วนั้น หากเราขยันหมั่นฝึกฝนและรักษาทรัพย์ภายในอันประเสริฐทั้ง 7 ประการนี้ไว้ได้ ก็จะเกิดประโยชน์และความสุขต่อตนเองและส่วนรวมอีกด้วย
เหรียญท้าวเวสสุวรรณรุ่นอริยทรัพย์ ด้านหน้าเป็นองค์ท้าวเวสสุวรรณยืนบนดอกบัวและด้านล่างเป็นพญาหงษ์
ทำไมท้าวเวสสุวรรณรุ่นนี้จึงต้องมีพญาหงษ์ “พญาหงษ์”ตำนานที่อยู่คู่วัดสายไหมมาอย่างยาวนาน 100 กว่าปี ในสมัยก่อนเคยมีคู่ แต่ถูกโจรลักไป1 ตน ในปัจจุบันจึงเหลือแค่เพียงตนเดียว ตั้งแต่คู่ถูกโจรลักไปที่เหลืออีก 1 ตน ทางวัดสายไหมได้เก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่เคยได้นำออกมาให้ใครชมหรือกราบไหว้บูชาอีกเลย ท่านที่เดินทางมายังวัดสายไหม จะเห็นเสาหงษ์ 2 ตน บริเวณหน้าศาลาการเปรียญอย่างสง่าและงดงาม
“พญาหงษ์”บูชาเพื่อเป็นเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ มีสง่าราศีแก่ผู้พบเห็น เนื่องจากพญาหงส์ตามตำนานเป็นสัตว์หิมพาน เป็นสัตว์มีสกุลสูง มักใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความสูงส่ง เช่น ช่อฟ้าตามวัดวาอาราม ก็คือสัญลักษณ์พญาหงษ์ เสาหงษ์ ตามวัดวาต่าง ๆ นับเป็นมหานิยมชั้นสูงด้วยเอกลักษณ์แห่งสัตว์สกุลสูง เพื่อให้เกิดความเข้มขลังทางด้านเมตตามหานิยมของสัตว์หิมพานชั้นสูงในตำนาน คือ พญาหงส์ ผู้อาศัยอยู่ในถ้ำทองแห่งขุนเขาไกรลาศ ผู้ลงสระสรงในอโนดาต


พญาหงส์ พระโพธิสัตว์ อดีตชาติ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พลีกายพลีใจอุ้มชูช่วยมหาชน ให้พ้นภัย หงส์เป็น เทพหิมพานต์ ของมงคลอยู่ยอดสูง วัดมอญ ต้องตั้งไว้เชิดชูบูชาบนยอดเสา ยอดโบสถ์ ยอดศาลา คุณของ “พญาหงส์ ” เด่น โด่งดัง แรงด้วย บารมีมหาอำนาจราชศักดิ์ เสริมมงคล เสริมราศี เสริมฐานะ เสริมดวงชะตา เพราะหงส์เป็นของสูงบินสูงอยู่สูง ผู้มีพญาหงส์จึงลงต่ำหรือตกต่ำไม่ได้
ผู้ใดได้บูชา ” พญาหงส์ ” ได้จึงสมปรารถนา เจริญด้วยอำนาจราชศักดิ์ ก้าวหน้าทั้งอาชีพการงาน ทั้งครอบครัวเจริญ ทั้งยศ ทั้งตำแหน่ง เสริมฐานะราศีดวงดีสูงขึ้นทุกวันคืน โดยเฉพาะ เรื่อง หากินเก่งทำมาค้าขาย จับธุรกิจเจริญก้าวหน้าสะดวก สบาย
ด้านหลังของเหรียญ มียันต์ 8 ทิศ หยินหยาง และภาษาจีนที่ซินแส วางไว้ในด้านหลังเหรียญ ท้าวเวสสุวรรณ รุ่น อริยทรัพย์ พิมพ์ใหญ่ ความหมายและคำอ่านและคำแปลมีดังนี้
福似雲生 fú sì yún shēng
ความโชคดี ความสุข เกิดขึ้นเสมือนเมฆปรากฏ
災隨電掃 zāi suí diàn sǎo
ภัยพิบัติ ความโชคร้ายมลายหายดั่งสายฟ้าฟาด
百無禁忌 bái wǔ jǐn yì
โดยไม่มีสิ่งใดสามารถกั้นขวาง
ยันต์8ทิศ หยินหยาง ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย เสริมความมั่งคั่งร่ำรวย เป็นเครื่องรางนำโชค เพื่อนำพาผู้บูชาไปสู่ความสำเร็จ ในเรื่องที่ตนอธิษฐานไว้ เสริมเรื่องโชคลาภเรื่องความรัก ด้วยหลักแห่งความสัมพันธ์ของจักรวาลและการเปลี่ยนแปลงของฟ้าดิน ทำให้ “ยันต์โป๊ยข่วย” สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ จากไม่มีเป็นมี จากบวกเป็นลบ จากร้ายกลายเป็นดี จากทุกข์กลายเป็นสุข หยินหยางยันต์แปดทิศ มีความหมายว่าเป็นยันต์แห่งฟ้าและดิน หยินกับหยาง หญิงกับชาย ร้อนกับเย็น ดีกับเลว มืดกับสว่าง อะไรก็ตามที่เป็นคู่กันในความหมายที่มักจะตรงกันข้าม ยันต์แปดทิศไม่ใช้ยันตร์แก้ไข หากแต่เป็นยันตร์ป้องกัน คุ้มภัย ลดความรุนแรง แผ่กระจายให้พ้น รูปลักษณะของยันต์แปดทิศ จะเป็นกรอบแปดเหลี่ยม ภายในกรอบแปดเหลี่ยมมีขีดเต็มและขีดประ หรือขีดยาวทั้งหมดแต่มีเส้นตั้งขวางบางช่วงของแต่ละทิศ อาจอยู่ระหว่างเส้นใดก็ได้ ไม่คงตัว แต่ความหมายของขึด 3 ขี้นั้นหมายถึง ขีดบนหมายถึงฟ้า ขีดกลางหมายถึงมนุษย์ และขีดล่างหมายถึงดิน ส่วนวงกลมตรงกลางมีทั้งที่เป็นกระจกใสสะท้อนแสงแบบนูนและแบบเรียบ หรือสัญลักษณ์ของหยินกับหยาง หรืออื่นๆ ถ้าเป็นกระจกเรียบ หมายถึงการสะท้อนกลับออกไปของสิ่งเลวร้ายที่พุ่งตรงเข้ามา แต่ถ้าเป็นกระจกโค้ง หมายถึงการแผ่กระจายให้กลืนหายไป ไม่ส่งสะท้อนกลับไปยังทิศที่ถูกส่งมา สัญลักษณ์ “แผนผังแปดทิศ” หรือ “ปากั้วถู” (八卦图) เป็นสัญลักษณ์แห่งเต๋า ที่มักใช้ควบคู่กับสัญลักษณ์หยินหยาง (阴阳) ที่คนไทยมักรู้จักกันในชื่อว่า “ยันต์แปดทิศ” และ “ยันต์โป๊ยข่วย” ธรรมชาติมีความสมดุลระหว่างหยิน – หยาง ความเชื่อนี้เชื่อว่าในโลกมีสิ่งตรงข้ามเสมอมีเช่น มร้อน – เย็น ทุกข์ – สุข ชาย – หญิง เร็ว – ช้า อ่อน – แข็ง รวย – จน แต่ละสังคมให้คุณค่าของหยิน – หยาง ต่างกันไป สังคมจีนให้ค่าความเป็นหยาง หมายถึง ความเป็นชาย ความแข็ง ลักษณะร้อนกว่าความเป็นหยิน ซึ่งหมายถึงความเป็นหญิง ความอ่อนโยน ความมีน้ำใจ ความเยือกเย็น ละเอียดอ่อน เหมาะสำหรับทุกท่านที่อยากมีของดีไว้เสริมกำลังใจ เสริมค้าขาย การงาน
พระครูโสภณภัทรเวทย์ ดร. (หลวงพ่ออ๊อด ปธานิโก) เปิดเผยว่า “ท้าวเวสสุวรรณ” เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย เป็นเจ้าแห่งภูตผี เป็นอธิบดีแห่งยักษ์ ท่านเป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือ มีอสูรรากษสและภูตผีปีศาจเป็นบริวาร
“ท้าวเวสสุวรรณ” ท่านเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาล ประกอบด้วย ท้าวธตรฐ ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก, ท้าววิรุฬหก ปกครองโลกด้านทิศใต้ และท้าววิรูปักษ์ ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก
ในคัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร มีพระคาถาบูชาดังนี้ ตั้งนะโม 3 จบ
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะ พันตา ภัทภูริโต เวสสะพุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณ รุ่น อริยทรัพย์ (รุ่นแรก) จองได้ที่วัดสายไหม 3 จุด 1.หน้าลานท้าวเวสสุวรรณ 2.ตู้วัตถุมงคลข้างกุฏิหลวงพ่อ 3.ตู้วัตถุมงคลข้างวิหารไอ้มะขาม และจองได้ที่สะพานบุญและศูนย์จองชั้นนำทั่วประเทศ เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างอุโบสถ วัดสายไหมแห่งที่ 2 จ.พระนครศรีอยุธยา