อำเภอเมืองปทุมธานี จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามโครงการจิตอาสาพระราชทาน รุ่นที่ 1
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 28 ก.พ.2565 ที่เดอะไพน์ รีสอร์ท อ.สามโคก จ.ปทุมธานีนายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ทบทวน) และฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เพิ่มเติม) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (รุ่นที่ 1) โดยมี นายพิษณุ ประภาธนานันท์ นายอำเภอเมืองปทุมธานี นายชัยชนะ ดำศรีสวัสดิ์ ท้องถิ่นอำเภอเมืองปทุมธานี ผู้บริหารองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการพร้อมด้วย วิทยากร และผู้เข้าอบรม เข้าร่วมพิธี
นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่าตามที่ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.พระราชทาน) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต. เทศบาลตำบลทุกแห่ง โดยรับสมัครจิตอาสาภัยพิบัติอย่างน้อย 50 คน ต่อแห่ง เพื่อเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาภัย ในพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอ ของจังหวัดปทุมธานี โดยมีการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติดังกล่าว ให้มีความพร้อมปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ ให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) การควบคุมสั่งการ การบริหารจัดการสาธารณภัยในพื้นที่เกิดเหตุ ที่เป็นรูปแบบและมีมาตรฐานเดียวกัน สามารถบัญชาการและปฏิบัติการร่วมกับชุดปฏิบัติการต่อเนื่องอย่างมีเอกภาพ
โดยใช้วิทยากรจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. หน่วยงานทหาร ตำรวจ สาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทุก อปท.จะต้องมีจิตอาสาภัยพิบัติในพื้นที่ โดยจะต้องมีการฝึกทบทวน อบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ พร้อมทั้งการเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะต้องอาศัยความพร้อมความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือตัวเองก่อน ที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นและสามารถเผชิญเหตุการณ์ได้ทันท่วงที โดยจิตอาสาภัยพิบัติสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จริง มีความรู้ทักษะ และขีดความสามารถในการสนับสนุนภารกิจการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมความพร้อม (ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย) ระยะเผชิญเหตุ และระยะฟื้นฟู สร้างความยั่งยืนพร้อมทั้งสามารถบูรณาการกับทุกภาคส่วน เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ทุกคนดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
ด้านนายพิษณุ ประภาธนานันท์ นายอำเภอเมืองปทุมธานี กล่าวว่าตามที่จังหวัดปทุมธานี ได้แจ้งให้เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ทุกแห่ง จัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อยแห่งละ 5• คน ซึ่งเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานีได้ดำเนินการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเสร็จเรียบร้อยแล้ว นั้นเทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานีจังหวัดปทุมธานี มีทั้งสิ้น 12 แห่ง มีชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติจังหวัดปทุมธานี รวมจำนวน 60 คน มีโครงสร้างประกอบด้วยหัวหน้าชุดปฎิบัติการ รองหัวหน้าชุดปฏิบัติการ และทีมปฏิบัติการ ชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ มีหน้าที่ติดตามข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย สำรวจตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัย การจัดเตรียมเครื่องมือพาหนะความพร้อมในการปฏิบัติงาน การฝึกซ้อมฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือร่วมฝึกซ้อมแผนระดับท้องถิ่น/อำเภอ/จังหวัด และกลุ่มจังหวัดร่วมฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัครให้คำแนะนำประชาชนและภาคีเครือข่าย การเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
โดยวันนี้ เป็นการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ทบทวน) และฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เพิ่มเติม)ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (รุ่นที่ 1)เป็นการจัดฝึกอบรมแบบบูรณาการร่วมกันของเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี ประกอบด้วย3 เทศบาลตำบล และ 3 องค์การบริหารส่วนตำบล มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมแห่งละ 50 คน รวมทั้งสิ้น 300 คน ผู้เข้าฝึกอบรมทุกคนได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว และผ่านการตรวจคัดกรองโรคฯ ด้วยวิธี ATK ตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคฯ จังหวัดปทุมธานี
การฝึกอบรมหลักสูตรชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติ ในครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อม และเพิ่มศักยภาพ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ