ตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรังเตรียมหญ้าแห้งและหญ้าสดไว้ช่วยเหลือเกษตรกร

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง จัดเตรียมหญ้าแห้งและหญ้าสด ไว้ช่วยเหลือเกษตรกรไม่ว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งหรือประสบปัญหาภัยจากน้ำท่วม
นางจรุณี ดำช่วย รักษาราชการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง กล่าวว่า สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานของ กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีหน้าที่หลัก การสำรองอาหารสัตว์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประสบภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยแล้งน้ำท่วม หรือ โรคระบาด ส่วนของศูนย์วิจัยพัฒนาอาหารสัตว์ ปีนี้มีเป้าหมาย ของการผลิตเสบียงแห้ง หรือหญ้าแห้ง จำนวน 200,0000 กิโลกรัม หรือ 10,000 ก้อน ซึ่งในหญ้าแห้ง 200,000 กิโลกรัมนี้ทางศูนย์วิจัยการพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ในผู้เลี้ยงโคได้จำนวน 9,500 ตัว ในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือภัยแล้งได้ประมาณ 5 วัน เพราะว่าหญ้าแห้งก้อนสามารถให้โคของเกษตรกรกินได้ประมาณ 3 ตัว/ก้อน/วัน

นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ก็จะมีเป้าหมายในเรื่องของการผลิตเสบียงหมักในการแจกจ่ายเกษตรกรรวมถึงการสนับสนุนพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ก็คือท่อนพันธุ์และ…พันธุ์ เกษตรกรสำหรับปลูกสร้างของตัวเอง ในส่วนของศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ตรังไม่ได้ดูแลเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตรัง มีพื้นที่ที่จะดูแลอีกพื้นที่หนึ่งก็คือจังหวัดกระบี่และจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติวิกฤติ สำหรับเกษตรกรที่มาขอรับการช่วยเหลือในเรื่องของเสบียงแห้ง อาจจะมีระเบียบของกรมปศุสัตว์ในเรื่องของการแจกจ่ายโดยเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติสามารถร้องขอเสบียงแห้งได้โดยผ่านทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เมื่อทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้รับหนังสือร้องขอของเกษตรกรแล้วก็จะสั่งจ่ายเกษตรกรก็สามารถมารับหญ้าแห้งได้ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาสัตว์ตรัง ซึ่งพื้นที่มีพื้นที่อยู่ 2 แปลงคือ แปลงที่ 1 อยู่ที่ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง แปลงที่ 2 อยู่ที่ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา


ในส่วนหญ้าสดของเกษตรกร จะมีบริการหญ้าสดเกษตรกร ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ซึ่งแปลงหญ้าของเกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ก็ได้เปิดแปลงหญ้าสดให้เกษตรกรเข้าไปตัดหญ้าในแต่ละวัน ซึ่งเกษตรกรที่มีความประสงค์จะบริการหญ้าสดของศูนย์ ฯ สามารถนำบัตรประชาชนพร้อมอุปกรณ์ในการตัดไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดุแลแปลงอยู่ ลงชื่อสามารถตัดหญ้าสดกลับไปเลี้ยงสัตว์ของตัวเองได้ ในระเบียบสามารถตัดได้ 300 กิโลกรัม/คน แต่เกษตรกรก็ตัดไม่ถึง เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านทางจังหวัดตรังก็จะประมาณ 1 เข่งไม่เกิน 100 กิโลกรัม แต่ละปีขึ้นอยู่กับหญ้าแห้ง และขึ้นอยู่กับความวิกฤติของการเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้งไม่น้อยกว่า 100 ราย/ปี/ครั้ง ที่เกษตรกรเข้าบริการตัดหญ้าสดประมาณ 10-20ราย
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง