ตรัง ตำรวจภูธรเมือง สนองนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยหรือ “SAFETY ZONE” ให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัด ผสานกับแนวคิดในเรื่องเมืองอัจฉริยะ หรือ “SMART CITY” จึงเป็นที่มาของโครงการ “SMART SAFETY ZONE 4.0”
ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง พล.ต.ต.สันทัด วินสน ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตรัง เป็นประธานในการชี้แจงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยหรือ “SAFETY ZONE” ให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัด ผสานกับแนวคิดในเรื่องเมืองอัจฉริยะ หรือ “SMART CITY” จึงเป็นที่มาของโครงการ “SMART SAFETY ZONE 4.0” ทั้งนี้จากเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นของ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในการที่จะสร้างพื้นที่ปลอดภัยหรือ “SAFETY ZONE” ให้เกิดขึ้นในทุกจังหวัด ผสานกับแนวคิดในเรื่องเมืองอัจฉริยะ หรือ “SMART CITY” จึงเป็นที่มาของโครงการ “SMART SAFETY ZONE 4.0” ขึ้น
หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชนตำรวจท้องที่จะต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เข้ามาเป็น “หุ้นส่วน” มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องดังกล่าว โดยนำข้อดีของทฤษฎีและแนวคิดด้านการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกมาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคมไทย โครงการนี้จึงเป็นการผสมผสานทั้งในระดับทฤษฎีและแนวคิดที่เป็นสากล มีการบูรณาการความร่วมมือกันของพันธมิตรเชิงหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ข้อสำคัญคือ มุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก การกำจัดจุดเสี่ยงภัยอาชญากรรมให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ผลสัมฤทธิ์ของโครงการนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งในมิติความมั่นคง ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยได้ในที่สุดวัตถุประสงค์ 1.เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ โดยผสมผสานทฤษฎีและแนวความคิดในการป้องกันอาชญากรรม อาชญาวิทยา กับแนวความคิดเรื่อง “เมืองอัจฉริยะ” แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย 2.เพื่อยกระดับการทำงานของตำรวจตามกรอบความคิดในเรื่อง “ระบบราชการ 4.0” และก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digitalization) 3.เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน ระบบราชการส่วนภูมิภาค ระบบราชการส่วนท้องถิ่น และสำนักงานตำรวจแห่งชาติในด้านการป้องกันอาชญากรรม และนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป้าหมายและตัวชี้วัด
1.สถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการมีขีดความสามารถในการป้องกันอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีตัวชี้วัด คือ ประชาชนในพื้นที่โครงการมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมไม่เกินร้อยละ40 และมีความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.สถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการมีความพร้อมที่จะพัฒนาเข้าสู่ “ระบบราชการ 4.0” และมีความเป็นดิจิทัล (Digitalization) โดยมีตัวชี้วัด คือ มีการนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม 3.มีการบูรณาการภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาร่วมมือกันในการวางแผนและป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สถานีตำรวจ ในรูปแบบเครือข่ายหรือพันธมิตรเชิงหุ้นส่วน โดยมีตัวชี้วัด คือ ความร่วมมือในการประชุมภาคีเครือข่ายและการร่วมกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่รวมทั้งการร่วมตรวจตราป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ 4.ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยมีตัวชี้วัด คือ ร้อยละของสถิติเหตุที่เกิดของคดีอาญากลุ่มที่ 1 และ 2 ในพื้นที่ Safety Zone ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับระหว่างช่วงเวลาก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง