“ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้” นักกฎหมายไฟแรง แนะการใช้โซเซียลเซฟๆ ไม่เสี่ยงเลี่ยงคุก

“ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้” นักกฎหมายไฟแรง แนะการใช้โซเซียลเซฟๆ ไม่เสี่ยงเลี่ยงคุก

‘ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้’ หรือ ‘คุณออด’ วัย 32 ปี คนรุ่นใหม่ไฟแรงมากความสามารถดีกรีไม่ธรรมดา เป็นทั้งนักกฎหมาย นักบริหาร และ ยังเป็นทายาทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่บุกเบิกรายแรกๆ ของไทย ตั้งแต่รุ่นคุณทวด อาทิ ที่ดินบริเวณรัชดา-ห้วยขวาง หมู่บ้านชัยณรงค์ในย่านห้วยขวาง อาคารพาณิชย์ในตลาดห้วยขวาง เลยมาถึงเส้นประชา สงเคราะห์และหลักสี่พลาซ่า (ปัจจุบันได้ขายให้กับไอทีสแควร์) หมู่บ้านชัยมงคล (บางแค/พระประแดง) หมู่บ้านสรัลพร (หนองแขม/เพชรเกษม) เป็นต้น ปัจจุบันเขารั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของ บริษัท ณัฐพร อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ จำกัด ศิษย์เอกรุ่นสุดท้ายของ ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค อดีตประธานรัฐสภา และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง

คุณออด – ณัฐวัฒน์ เผยว่า ตอนนี้ผมกับเพื่อน ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัท อีโคเซฟ จำกัด ขึ้นเมื่อปี 2560 เพื่อทำธุรกิจออแกไนซ์งานด้านการศึกษา เช่น เป็นผู้จัดงานมหกรรมทางการศึกษา EduLife 2018 และ เรายังเป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง Oxford Programme On Negotiation in Bangkok 2019 จากอ๊อกฟอร์ด โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Tim Cullen MBE ผู้ก่อตั้ง The Oxford Programme on Negotiation ซึ่งถือเป็นหลักสูตรที่แพงที่สุดในประเทศไทย และใช้เวลาอบรมเพียง 5 วัน โดยอาจารย์และทีมงาน ที่มาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดทั้งหมด

นอกจากนี้แล้วเมื่อเร็วๆ นี้ได้ก้าวมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ของ “ไทยรอด ฮอสปิเทล โรงแรมพูลแมน อโศก” ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยเฉพาะกิจที่เราได้ร่วมมือกับ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เพราะว่า 1.ฮอสปิเทล ก่อนมีโควิด-19 ไม่ใช่สิ่งที่แพร่หลายในไทย ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จให้ผมได้เรียนรู้ แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่อยากให้ผู้ป่วยมีที่พัก ตอนนี้ความท้าทายก็คือการทำฮอสปิเทลยังไงให้คนที่ป่วยสามารถเข้าถึงการตรวจหรือการรักษาได้ โดยที่ผมเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการช่วยหยุดกระจายของโรคระบาดนี้ สุดท้ายแล้วพอมันหยุดแพร่กระจายได้ดี ชุมชนก็จะกลับมาดี สังคมก็จะกลับมาดีขึ้น มันจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผม เพราะผมเองก็กำลังเรียนรู้กับเรื่องนี้อยู่ครับ”

ทุกวันนี้สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตคนไทยแทบทุกมิติ ทั้งในด้านบันเทิงและนันทนาการด้วยการอ่าน การดู การฟัง Social Media แทบจะเป็นสื่อหลักที่คนไทยเสพ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายจึงอยากเตือนคนไทยเรื่องการใช้โซเซียลเซฟๆ ไม่เสี่ยงเลี่ยงคุก และโดนปรับ โดยมี 5 ข้อที่ควรเลี่ยง คือ

1. ไม่ด่าคนอื่นลงโซเชียล การโพสต์ด่า, ประจานผู้อื่นผ่าน Social Media ไม่ว่าจะเป็น Facebook Line Twitter IG เป็นต้น มีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 328 และ พรบ.คอมฯ มาตรา 14 (1) มาตรา 328 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท + พรบ.คอมฯ มาตรา 14 (1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท
2. ไม่โพสต์ข้อความอันเป็นเท็จ การโพสต์ข้อความ ที่เป็นเท็จ ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือธุรกิจ มีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) และ พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พรบ.คอมฯ มาตรา 14 (1) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
3. กดไลก์ กดแชร์ ข้อความอันเป็นเท็จ การกดแชร์โพสต์ที่เป็นเท็จ แม้ว่าจะไม่ได้โพสต์ด้วยตนเอง แต่การแชร์ข้อความที่ไม่เป็นจริง ถือว่าเราเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (5) พรบ.คอมฯ มาตรา 14 (5) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (การกดไลก์โพสต์ที่เป็นเท็จ ก็เสี่ยงที่จะเป็นผู้ร่วมทำความผิด เพราะ การกดไลก์เป็นการทำให้ผู้คนเห็นโพสต์มากขึ้น)
4. ฝากร้านในโซเซียล การโฆษณาสินค้าและบริการ ผ่าน Social Media ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝากร้านใต้โพสต์ใน IG, Facebook, อีเมล์โฆษณา, ส่งแชทส่วนตัวหรือส่ง SMS โดยที่ผู้บริโภคไม่ยินยอม หากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ฝ่าฝืนมีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 11 พรบ.คอมฯ มาตรา 11 ปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้ง
5. แชร์ลูกโซ่ รับจ้างรีวิวสินค้า ผู้ที่ทำการกดไลก์ กดแชร์ และคอมเมนต์ ไม่ได้เกิดจากความคิดเห็นที่แท้จริง ที่ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อในคุณภาพสินค้าที่โฆษณาเกินจริง มีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 รวมถึง พรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) และ (5) พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 ปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทต่อครั้ง + พรบ.คอมฯ มาตรา 14 (1) และ 14 (5) มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท


‘ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้’ ปิดข้อคิดเรื่องการบูลลี่ในสังคมตอนนี้ว่า “แม้การบูลลี่อาจจะดูเป็นการกระทำเล็กๆ ในสายตาของใครบางคนแต่อาจสร้างบาดแผลให้กับผู้ที่ถูกบูลลี่ได้ และนอกจากนี้ยังเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในเรื่องของความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความหลากหลายและการแสดงออก “การบูลลี่อาจสร้างความบันเทิงให้กับผู้กระทำ แต่อาจเป็นบาดแผลฉกรรจ์ให้กับผู้ถูกกระทำไปทั้งชีวิต” ในทางกฎหมาย การบูลลี่ อาจจะเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกแล้วแต่กรณีครับ

ฝากติดตามและเป็นกำลังใจดี ๆ ให้ คุณณัฐวัฒน์ พอใช้ได้ : นักกฎหมายและนักบริหารรุ่นใหม่อนาคตไกล ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้
• FACEBOOK : https://www.facebook.com/natthawat.porchaidai
• INSTRAGRAM : https://www.instagram.com/oody55/
• TWITTER : https://twitter.com/natthawatoody