สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล Cultural Textile Awards 2021 สงขลาเมืองเก่า มนต์เสน่ห์แห่งพหุวัฒนธรรม ไทย จีน มุสลิม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ เข้าร่วมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021)โดยมี อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นเป็นประธานในงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัชดา สำหรับการประกวดในครั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าฝ้าย Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ ผลงานของ อาจารย์นภท์ชนก ขวัญสง่า, อาจารย์ณัฐชนา นวลยังม นายประพนธ์ ชนะพล และคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าไหม Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ
ได้แก่ อาจารย์ชไมพร มิตินันท์วงศ์, อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง, นายประพนธ์ ชนะพล โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ผู้ให้คำปรึกษาการประกวด การถ่ายทอดผลงานดังกล่าวเกิดมาจาก วิถีชีวิตในอดีตของเมืองสงขลาที่ยังปรากฏให้ได้ศึกษา เรียนรู้และถ่ายทอดจนมาถึงทุกวันนี้ทั้งการเก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ ภายใต้การดูแลของสถาบันทักษิณคดีศึกษาและการจัดการภูมิทัศน์เมืองเก่าที่ยังคงมีการรักษาอาคาร สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมและการตกแต่งให้คงสภาพและซ่อมแซมให้มีความเหมือนเดิมในอดีต ศิลปวัฒนธรรมสงขลายังมีครบทุกด้ายลวดลายงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอาคารสถานที่ อาหารและการแต่งกายที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลของการเป็นเมืองท่า ที่เชื่อมโยงจากคาบสมุทรมลายู วัฒนธรรมบางอย่างจึงได้รับอิทธิพลเข้ามา เช่นการแต่งกายด้วย ผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก
สงขลา เป็นเมืองที่มีสมบูรณ์และมีเรื่องราวจนทำให้รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสสงขลาราว 8 ครั้ง พร้อมได้ทั้งนำวัฒนธรรม ธรรมเนียม อาหาร เข้ามาในเมืองสงขลาโดยเฉพาะการทำขนมทองเอก และขนมสัมปันนี ซึ่งถือว่าเป็นขนมในย่านเก่าแก่ในย่านเมืองเก่าด้วย การพบหลักฐาน คือ แม่พิมพ์ไม้สำหรับทำขนมทองเอกและขนมสัมปันนีจำนวกมากซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ สถาบันทักษิณคดี ความสมบูรณ์และวิถีชีวิตคนเมืองท่าริมน้ำ มีทั้งน้ำเค็มและน้ำกร่อยมีดินทรายและดินโคลน ทำให้สงขลาเป็นแหล่งผลิตกระเบื้องว่าวดินเผาที่มีชื่อเสียงในอดีต ในย่านเมืองเก่ามีถนนสามวัฒนธรรม เป้นที่ตั้งของคน 3 เชื้อ 3 สาย ไทย จีน และพุทธ และมีสถานที่สำคัญในย่านถนนนี้ ได้แก่มัสยิดบ้านบลนศาลเจ้าจีน (ศาลหลักเมือง)และวัดยางทอง จากเรื่องราวเหล่านี้จึงได้นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลายผ้าปาเต๊ะ ที่มีคุณค่าเรื่องราวและอัตลักษณ์ตามวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ลวดลายและสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สีธรรมชาติจากพืชในพื้นที่สงขลานั้นเอง ติดต่อสอบถามรายละเอียด การออกแบบลวดลายผ้า หรือการเรียนการสอน การตัดเย็บได้ที่คณะ สถาปัตยกรรม มทร.ศรีวิชัย โทร 074-317100
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง