โรคใบยางพาราร่วงชนิดใหม่ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในจังหวัดตรังและในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งโรคใบยางพาราร่วงนั้นจะทำให้ปริมาณน้ำยางพาราลดลง ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง เร่งฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้าง โดยมีการแพร่ระบาดแล้วเกือบ 2 พันไร่
ที่ห้องประชุมการยางแห่หงประเทศไทย จังหวัดตรัง นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาการระบาดโรคใบร่วงยางพารา ทั้งนี้โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารามีการแพร่กระจายเข้ามาระบาดในพื้นที่ปลูกยางแถบจังหวัดชายแดนรอยต่อกับประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน คือร้อนชื้นและฝนตกชุก โยพบลักษณะอาการปรากฏบนใบยางแก่ เมื่อเริ่มแสดงอาการปรากฏรอยช้ำๆเป็นกลุ่มเป็นชัดเจนด้านหลังใบ หลังจากนั้นจะแสดงอาการเป็นวงค่อนข้างกลมสีเหลือง ต่อมาเนื้อเยื่อสีเหลืองจะตายแห้ง เป็นแผลกลมสีสนิมขีด จากนั้นใบจะเหลืองและร่วงในที่สุด อาการของโรครุนแรงและใบร่วงมาก หลังมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน อาการใบร่วงจากเชื้อรานี้มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำยาง เนื่องจากมีใบร่วงมากกว่าร้อยละ 90 จึงเป็นเหตุให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 30-60 และพบในพันธุ์ยาง RRIM600 พันธุ์RRIT 251และพันธุ์PB 311 ทั้งนี้ทางการยางแห่งประเทศไทย สาขาย่านตาขาว ได้ลงพื้นที่สำรวจสวนยางในพื้นที่ตำบลนาชุมเห็ด เนื่องจากได้รับแจ้งจากเกษตรกรว่าพบใบยางพาราร่วง
ดังนั้นทางการยางแห่งประเทศไทย สาขาย่านตาขาว ได้นำสารเคมีกลุ่ม Benomy, HexaconazoleและThiophanate-methyl เพื่อป้องกันและยังยั้งการแพร่กระจายของโรคดังกล่าว โดยใช้เครื่องฉีดพ่นแรงดันสูงและอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) เนื่องจาดต้นยางนั้นต้นสูงและบางพื้นที่รถฉีดพ่นแรงดันสูงไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจังหวัดตรังมีสวนยางพาราได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคใบยางพาราร่วง จำนวน 1,549.89 ไร่ เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 123 ราย อย่างไรก็ตามทางการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง ได้กำชับการยางแห่งประเทศไทย ทุกสาขาในจังหวัดตรัง ให้เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดของโรคฯ อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเตือนเกษตรกร ให้สังเกตที่ใบยางพาราหากพบลักษณะอาการดังกล่าวให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ทางเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปฉีดพ่นสารเคมี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้าง
มนต์เจริญ ศรีมงคล จ.ตรัง